อาหารที่ควรกินหลังผ่าตัด ช่วยฟื้นฟูร่างกายเร็วขึ้น | แผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียม

อาหารที่ควรกินหลังผ่าตัด ช่วยฟื้นฟูร่างกายเร็วขึ้น | แผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียม

เสริมสุขภาพหลังผ่าตัดใหญ่และผ่าตัดโดยใช้แผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียมให้แข็งแรง เริ่มต้นได้ง่าย ๆ ที่การเลือกรับประทานอาหาร การผ่าตัดเล็ก (Minor surgery) และการผ่าตัดใหญ่ (Major surgery) อย่าง การผ่าตัดเปิดกะโหลก หรือการผ่าตัดโดยใช้กระดูกเทียมไทเทเนียมและแผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียม ถือเป็นการทำหัตถการทางการแพทย์ที่มีความซับซ้อน และสามารถนำมาซึ่งความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของผู้เข้ารับการผ่าตัดได้มากมาย เพราะฉะนั้นแล้ว การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน ร่วมกับการดูแลบาดแผลหลังจากการผ่าตัดโดยการใช้แผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียมหรือการผ่าตัดอื่น ๆ ตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วและสามารถกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้นได้อีกครั้ง แนะนำอาหารที่ตอบโจทย์การช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังจากการผ่าตัดใหญ่และการผ่าตัดโดยใช้แผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียม เนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน เนื้อไก่ และเนื้อปลา ล้วนอุดมไปด้วยสารอาหารประเภทโปรตีน ที่มีบทบาทสำคัญต่อการช่วยให้พลังงานแก่ร่างกาย ร่วมกับการช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ที่สึกหรอไปในระหว่างขั้นตอนของการผ่าตัดเล็ก การผ่าตัดใหญ่ หรือการผ่าตัดโดยใช้แผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียม ซึ่งจะสามารถช่วยส่งเสริมการฟื้นตัวให้กับผู้ป่วยและช่วยลดความเสี่ยงที่แผลผ่าตัดทั่วไปหรือแผลจากการผ่าตัดโดยใช้แผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียมจะเกิดการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยหลังจากเข้ารับการผ่าตัดใหญ่หรือการผ่าตัดโดยใช้แผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียม ผู้ป่วยควรรับประทานโปรตีนให้ได้อย่างน้อยหนึ่งเท่าตัวของปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ซึ่งนอกจากการรับประทานเนื้อสัตว์แล้วนั้น ผลิตภัณฑ์จากนม โยเกิร์ต ไข่ ธัญพืช และถั่วชนิดต่าง ๆ ก็ล้วนเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่ตอบโจทย์การช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังจากการเข้ารับการผ่าตัดทั่วไปหรือการผ่าตัดที่มีการใช้แผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียมเช่นเดียวกัน ธาตุเหล็ก ภาวะโลหิตจาง เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งหลังจากการผ่าตัดเปิดกะโหลก การผ่าตัดโดยใช้กระดูกเทียมไทเทเนียม หรือการผ่าตัดโดยใช้แผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียม เพราะฉะนั้นแล้ว การรับประทานเนื้อแดงไร้มัน เลือด ตับ ไข่แดง อาหารทะเล…
เข้ารับการผ่าตัดปิดกะโหลก

8 ถามตอบแผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียมที่คุณควรรู้ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดปิดกะโหลก

ทุกข้อควรรู้เพื่อการผ่าตัดปิดกะโหลกที่มีประสิทธิภาพ ท่ามกลางนวัตกรรมและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง กระดูกเทียมไทเทเนียมและแผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียมเฉพาะบุคคล นับได้ว่าเป็นหนึ่งในสุดยอดความมุ่งมั่นทางด้านนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป้าหมายในการช่วยสร้างความเท่าเทียมในการรักษาให้กับผู้ป่วยทุกคน ร่วมกับการช่วยเอื้อประโยชน์ให้ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดปิดกะโหลกจากการประสบอุบัติเหตุร้ายแรง หรือผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคร้าย อาทิ โรคเนื้องอก หรือโรคมะเร็งที่ทำลายกระดูก ที่มีความจำเป็นจะต้องใช้กระดูกเทียมไทเทเนียมหรือแผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียมเป็นวัสดุทดแทนกระดูกชิ้นเดิม สามารถกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้นได้อีกครั้ง กระดูกเทียมไทเทเนียม คืออะไร? กระดูกเทียมไทเทเนียม คือ วัสดุทดแทนกระดูกประเภทหนึ่งที่ถูกผลิตขึ้นรูปขึ้นมาจากวัสดุอย่าง โลหะประเภทสเตนเลสสตีล ไทเทเนียม หรือโลหะผสมระหว่างโคบอลต์และโครเมียม ที่มีการผสมผสานความโดดเด่นในด้านของความแข็งแรง และความปลอดภัยในการใช้งานที่ไม่ก่อให้เกิดก่อให้เกิดปัญหาการติดเชื้อหรือการอักเสบ เข้าไว้ด้วยกันได้อย่างลงตัว โดยในขั้นตอนของการผ่าตัดรักษา กระดูกเทียมไทเทเนียมและแผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียมจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการทดแทนกระดูกที่เกิดการแตกหักเสียหายจากอุบัติเหตุหรือโรคร้ายแรง เพื่อการช่วยเพิ่มโอกาสสำเร็จในการผ่าตัด ร่วมกับการช่วยลดระยะเวลาในการพักฟื้นให้กับผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระดูกเทียมไทเทเนียมมีวิธีการผลิตอย่างไร ? การผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียมหรือแผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียมแต่ละชิ้นเป็นการผลิตวัสดุทดแทนกระดูกในลักษณะเฉพาะบุคคลที่มีความปลอดภัยและมีมาตรฐานรองรับ เพื่อให้กระดูกเทียมไทเทเนียมดังกล่าวมีขนาดและรูปแบบที่สามารถเข้ากันได้ดีกับสรีระร่างกายที่มีความเฉพาะตัวของผู้ป่วยแต่ละคนได้เป็นอย่างดี โดยในการออกแบบและผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียม ทางทีมแพทย์จะมีการนำเอาผลการ CT Scan ของผู้ป่วยมาทำการวิเคราะห์และประเมินผลด้วยเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) เพื่อการจำลองรูปแบบ ขนาด และลักษณะที่เหมาะสมของกระดูกเทียมไทเทเนียมขึ้นมา ก่อนที่จะนำมาเข้าสู่กระบวนการผลิตขึ้นรูปชิ้นงานกระดูกเทียมไทเทเนียมด้วยเทคโนโลยี Selective Laser Melting (SLM) ซึ่งเป็นการพิมพ์สามมิติขั้นสูงที่สามารถหลอมละลายและขึ้นรูปผงโลหะไทเทเนียมประเภท Medical Grade ให้กลายมาเป็นกระดูกเทียมไทเทเนียมเฉพาะบุคคลได้อย่างแม่นยำมากที่สุด ข้อดีของการใช้งานแผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียม การใช้งานกระดูกเทียมไทเทเนียมมาพร้อมด้วยข้อดีที่เหนือกว่าการใช้งานกระดูกเทียมหรือวัสดุทดแทนกระดูกประเภทอื่น ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการที่กระดูกเทียมไทเทเนียมมีขนาดและรูปร่างที่สามารถเข้ากันได้ดีกับสรีระร่างกายของผู้ป่วย…
สปสช. สำหรับผู้ป่วยที่กำลังจะผ่าตัดเปิดกะโหลก

Meticuly unlock สปสช. สำหรับผู้ป่วยที่กำลังจะผ่าตัดเปิดกะโหลก

สปสช. เพิ่มสิทธิแผ่นปิดกะโหลก ศีรษะเทียมไทเทเนียม Meticuly เพื่อผู้ป่วยผ่าตัดเปิดกะโหลก นับเป็นอีกหนึ่งข่าวดีเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุและได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงที่บริเวณกะโหลกศีรษะ รวมถึงผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง อาทิ เนื้องอกกะโหลกศีรษะ เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง หรือโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่มีความจำเป็นจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเปิดกะโหลก เพื่อทำการรักษาภาวะฉุกเฉินดังกล่าวจนต้องสูญเสียกะโหลกศีรษะเดิมไป เนื่องจากในตอนนี้ทางคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้มีมติเห็นชอบเกี่ยวกับการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในส่วนของแผ่นปิดกะโหลกศีรษะจากวัสดุโลหะไทเทเนียม ที่จะนำมาใช้งานร่วมกับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกและไม่สามารถใช้งานแผ่นกะโหลกศีรษะเดิมของตนเองในการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะได้ สปสช. คืออะไร? สปสช. หรือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหนึ่งในองค์กรของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 เพื่อทำหน้าที่สำคัญในการเป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข โดยพันธกิจที่สำคัญของ สปสช. คือ การทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนของประชาชนในการดูแลบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ร่วมกับการกำหนดสิทธิประโยชน์ และคุ้มครองดูแลให้ประชาชนได้รับการบริการอย่างเท่าเทียม มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะสามารถเป็นไปได้ จากสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สิทธิบัตรทอง (สิทธิ 30 บาท) ซึ่งเป็นสิทธิที่ประชาชนชาวไทยพึงได้รับตามกฎหมายตั้งแต่แรกเกิดและตลอดช่วงชีวิต ใครจะสามารถใช้สิทธิตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้บ้าง ? บุคคลที่มีสัญชาติไทย มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานที่ใช้จ่ายจากเงินจากงบประมาณของรัฐ อาทิ…
กระดูกเบ้าตาแตก

การป้องกันการบาดเจ็บของดวงตาและกระดูกเบ้าตา สำหรับผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุกระดูกเบ้าตาแตก

แผ่นรองเบ้าตาไทเทเนียม อีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาสำหรับผู้ป่วยกระดูกเบ้าตาแตก บนท้องถนนอันแสนวุ่นวายของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ รถจักรยานยนต์ยังคงเป็นพาหนะที่คนไทยส่วนใหญ่ให้ความนิยมและเลือกใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุผลในด้านของการช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง เข้าถึงทุกตรอกซอกซอย หาที่จอดง่าย และมีราคาที่สามารถเข้าถึงได้ แต่อย่างไรก็ตาม ความสะดวกสบายที่ได้มาจากการใช้งานรถจักรยานยนต์นั้นก็ต้องแลกมากับความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่สามารถทำให้เกิดภาวะกระดูกเบ้าตาแตก กะโหลกศีรษะและกระดูกในบริเวณอื่น ๆ เกิดความเสียหายจนต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียม ตลอดจนการเสียชีวิตบนท้องถนนที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกเบ้าตาแตก หรือที่เรียกว่า Orbital Blow-out Fracture บ่อยครั้งที่แรงกระแทกที่เกิดขึ้นจากการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่ว่าจะด้วยอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการขับขี่รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ ตลอดจนการใช้ความรุนแรงระหว่างบุคคล การหกล้ม การกระแทก และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการเล่นกีฬาที่เกี่ยวข้องกับลูกบอลที่มีความเร็วสูง อาทิ เบสบอล ซอฟต์บอล บาสเกตบอล หรือรักบี้ เป็นต้น ได้ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและผลกระทบอย่างรุนแรงที่บริเวณเบ้าตาและบริเวณโดยรอบเบ้าตา จนกลายมาเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะกระดูกเบ้าตาแตก (Orbital Blow-out Fracture) ที่ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยการนำกระดูกเทียมไทเทเนียมมาใช้เป็นวัสดุทดแทนกระดูกเบ้าตาแตก เพื่อเป้าหมายในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ร่วมกับการช่วยรักษารูปทรงของใบหน้าให้มีความสวยงามดังเดิม ภาวะกระดูกเบ้าตาแตก หรือ Orbital Blow-out Fracture คืออะไร ภาวะกระดูกเบ้าตาแตก หรือ Orbital Blow-out Fracture เป็นรูปแบบในการบาดเจ็บเกี่ยวกับดวงตาประเภทหนึ่งที่สามารถพบเจอได้บ่อยมากที่สุด โดยสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะกระดูกเบ้าตาแตกเกิดขึ้นจากการได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรงที่บริเวณกะโหลกศีรษะและใบหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณดวงตา บริเวณเบ้าตา…
ผ่าตัดปิดกะโหลกโดยใช้กะโหลกเทียมไทเทเนียม

การดูแลและข้อควรระมัดระวังต่อผู้ป่วยผ่าตัดปิดกะโหลกโดยใช้กะโหลกเทียมไทเทเนียม

ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดปิดกะโหลก ขั้นตอนของการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ หรือที่รู้จักกันในชื่อเรียกว่า “Cranioplasty” เพื่อซ่อมแซมช่องโหว่ของกะโหลกศีรษะด้วยกระโหลกเทียมไทเทเนียม กะโหลกศีรษะเดิม หรือกะโหลกเทียมจากอะคริลิก ในผู้ป่วยที่มีความจำเป็นจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ (Craniectomy) เพื่อลดความดันในกะโหลกศีรษะและรักษาอาการสมองบวมที่เกิดขึ้นจากภาวะสมองขาดเลือด เลือดออกในสมอง หรือการมีเนื้องอกที่บริเวณกะโหลกศีรษะ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนการรักษาที่มีความสำคัญสำหรับการฟื้นตัวของผู้ป่วย และการช่วยให้ผู้ป่วยทุกคนสามารถกลับมาดูแลและช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้นอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการจะผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะด้วยกระโหลกเทียมไทเทเนียมหรือวัสดุอื่น ๆ ย่อมมาพร้อมด้วยความเสี่ยง รวมไปถึงข้อควรระวังมากมายที่ทั้งผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกและผู้ดูแลจำเป็นจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยในวันนี้ Meticuly ในฐานะบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทดแทนกระดูกและกระโหลกเทียมไทเทเนียม เราจึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติและข้อควรระมัดระวังในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปิดกะโหลกแบบเบื้องต้น มาฝากผู้ป่วยและผู้ดูแลทุกคนกันในบทความนี้ ข้อควรสังเกตเกี่ยวกับอาการและการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดปิดกะโหลก (Cranioplasty) หลังการผ่าตัดทันที หลังจากที่ผู้ป่วยผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ (Craniectomy) ถูกย้ายกลับมายังห้องพักฟื้นหลังจากการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ (Cranioplasty) ด้วยแผ่นปิดกะโหลกจากวัสดุทดแทน ผู้ป่วยจะยังคงมีอาการอ่อนแรงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังมีความต้องการที่จะงีบหลับในช่วงเวลาระหว่างวันที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งอาการดังกล่าวถือเป็นกระบวนการปกติที่ร่างกายจะใช้ในการบำบัดและฟื้นฟูตัวเองหลังจากที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้ารับการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะด้วยกระโหลกเทียมไทเทเนียมหรือวัสดุอื่น ๆ มักอาจจะมีอาการอ่อนแรงต่อเนื่องหลายสัปดาห์ และอาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย ซึ่งผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการดังกล่าวได้ตามที่แพทย์แนะนำ หลังการผ่าตัดหนึ่งสัปดาห์ ผู้ป่วยผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ (Craniectomy) มักจะใช้เวลาประมาณ 1-2 วันในการพักฟื้นในโรงพยาบาลหลังจากที่เข้ารับการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ แต่อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการฟื้นตัวดังกล่าวนั้นก็จะมีความแตกต่างกันออกไปตามปัจจัยเกี่ยวกับวิธีการผ่าตัดและวัสดุที่ใช้ในการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ ตลอดจนสุขภาพผู้ป่วยแต่ละบุคคล ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วหลังจากการผ่าตัดประมาณ 1…
โรคหลอดเลือดสมอง สโตรก

โรคหลอดเลือดสมอง สโตรก วิธีสังเกตอาการ การรักษา

วิธีสังเกตอาการและปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมอง หรือ สโตรก (stroke) หมายถึงโรคที่เส้นเลือดสมองอุดตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมอง ไม่เพียงพอ สมองขาดเลือดและส่งผลให้เกิดอาการในที่สุด หรืออาจหมายถึงเส้นเลือดในสมอง แตก ทำให้มีเลือดออกในเนื้อสมอง จนไปกดทับเนื้อสมองหรือความดันในกะโหลกเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดอาการผิดปกติเช่นกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากเส้นเลือดสมองอุดตัน อาการผิดปกติที่พบ แขนขาอ่อนแรงหรือชาข้างใดข้างหนึ่ง หน้า หรือ ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด เวียนศีรษะ เดินเซ จากผลสำรวจพบว่าประเทศไทยมีอุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดสมองมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ มีรายงานอุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองเฉลี่ยสูงขึ้น จากประชากร จำนวน 278 คนต่อประชากร 100,000 คน ในปี 2560 จากประชากร จำนวน 330 คนต่อประชากร 100,000 คน ในปี 2565 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้น 0.1% โดยประมาณ แต่อย่าชะล่าใจนัก เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง สามารถแบ่งปัจจัยเสี่ยงเป็นสองกลุ่ม คือ ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้และปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ โดยทั่วไปแล้ว สามารถป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้…
เนื้องอกในสมอง บริเวณไหนอันตรายถึงชีวิต

เนื้องอกในสมอง บริเวณไหนอันตรายถึงชีวิต

ในปี 2023 ทั่วโลกพบผู้ป่วยเนื้องอกในสมองรายใหม่มากกว่า 20,000 ราย โดยพบเนื้องอกในสมองที่เป็นมะเร็ง โดยในเพศชายพบถึง 3.7 คนต่อประชากร 100,000 คน และในเพศหญิง 2.6 คนต่อประชากร 100,000 คน ส่วนใหญ่พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เนื้องอกในสมองสามารถเกิดขึ้นได้ทุกตำแหน่งของสมอง โดยแต่ละตำแหน่งจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความผิดปกติของร่างกายแตกต่างกันออกไป เช่น อ่อนแรงแขนขา ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด เดินเซ มองเห็นภาพซ้อน มีปัญหาทางการสื่อสาร เป็นต้น สามารถแยกออกเป็นบริเวณต่าง ๆ ดังนี้ สมองใหญ่ส่วนหน้า (Frontal lobe) การที่มีเนื้องอกมากดเบียดสมอง หรือสมองขาดเลือดบริเวณดังกล่าว อาจทำให้การทำงานผิดปกติดังนี้ หากเนื้องอกอยู่ในส่วนที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อจะทำให้เกิดอาการอ่อนแรงแขนขาด้านตรงข้าม หรือปากเบี้ยว หากเนื้องอกอยู่ในส่วนที่ควบคุมการพูด จะทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสาร เข้าใจสิ่งที่ได้ยินแต่พูดไม่ออก พูดลำบาก พูดช้า หากเนื้องอกอยู่ในฐานสมองส่วนหน้า หรือบริเวณต่อมใต้สมอง อาจะทำให้ลานสายตาแคบลง มองไม่เห็นภาพบริเวณด้านข้าง หรือมีปัญหาฮอร์โมนผิดปกติ   สมองใหญ่ส่วนข้าง (Parietal lobe) สมองส่วนนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้เรื่องความเจ็บ การสัมผัส ความร้อน…
blog-2-1

การผ่าตัดเปิดกะโหลกเพื่อลดแรงดันในสมอง

การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ ทางเลือกในการรักษาลดแรงดันสมอง ปัจจุบันสังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคไต เป็นต้น และโรคที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่กำลังเผชิญมากที่สุด คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดเลือดออกในสมอง หลอดเลือดในสมองโป่งพอง และไขมันในเลือดสูงนั้น ซึ่งส่งผลทำให้เกิดหลอดเลือดในสมองอุดตัน และสมองขาดเลือด โดยสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดหลอดเลือดในสมองอุดตัน คือ การสูบบุหรี่ เมื่อสูบบุหรี่มาก ๆ ทำให้เลือดออกในสมองปริมาณมากและทำให้ภาวะสมองที่บวม ซึ่งสาเหตุนี้ส่งผลให้สมองโดนกดเบียด ซึ่งจะมีอาการคือภาวะซึมลง อ่อนแรง หรือเรียกไม่ตอบสนองได้ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ นำไปสู่ภาวะสมองบวม (Brain Edema) เนื่องด้วยประเทศไทยมีการใช้ยานพาหนะโดยรถจักรยานยนต์สัญจรเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดอุบัติเหตุจากจราจรนั้นเพิ่มมากขึ้นเป็นประจำทุกปี มีผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุจราจรมากกว่า 2,000 รายต่อวัน และเสียชีวิตมากกว่า 15,000 รายต่อปี ซึ่งกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะและมีเลือดออกในสมอง ผู้ป่วยต้องทำการลดแรงดันในสมอง อีกเช่นกัน วิธีการรักษาอาจเริ่มจากการรักษาด้วยการให้ยา แต่หากเลือดออกปริมาณมากหรือการรักษาเพื่อลดแรงดันในสมองด้วยยาไม่ได้ผลนั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อลดแรงดันสมอง อีกทั้งช่วยลดการบาดเจ็บและลดความเสียหายแก่สมองในบริเวณอื่น หากมีภาวะสมองบวมมากเกินไป จำเป็นที่จะต้องทำการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะค้างไว้ เพื่อลดแรงดันในสมอง ซึ่งจะเห็นได้ว่าการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อลดแรงดันในสมอง ไม่ว่าจะสาเหตุเกิดจากอุบัติเหตุ…
กะโหลกศีรษะเทียม มีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไรบ้าง

กะโหลกศีรษะเทียม มีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไรบ้าง

เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของกะโหลกศีรษะเทียมแต่ละวัสดุต่างกันอย่างไร ปัจจุบันประเทศไทยมีอุบัติเหตุจราจรมากกว่า 2,000 รายต่อวัน และอัตราการเสียชีวิตมากกว่า 15,000 รายต่อปี โดยส่วนมากเป็นการบาดเจ็บที่ศีรษะ มีเลือดออกในสมอง จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดกะโหลกศีรษะ การผ่าตัดกะโหลกศีรษะเทียมที่พบได้บ่อย คือ การผ่าตัดนำเลือดในสมองออกร่วมกับเปิดกะโหลกศีรษะไว้เพื่อลดแรงดันในสมอง หากแต่เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดอาการคงที่ ไม่มีภาวะสมองบวม ในบางกรณีอาจส่งผลให้บริเวณศีรษะด้านที่ผ่าตัดยุบตัวผิดรูป ทำให้มีผลต่อความสวยงามของศีรษะและสภาพจิตใจของผู้ป่วย บางกรณีทำให้การไหลเวียนน้ำไขสันหลังผิดปกติ ดังนั้นการปิดกะโหลกศีรษะเทียมจึงมีความจำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยการปิดกะโหลกศีรษะมีทางเลือกหลายวิธี ทั้งใช้กะโหลกศีรษะเดิม ขึ้นรูปกะโหลกศีรษะเทียมด้วยมือ หรือใช้คอมพิวเตอร์ขึ้นรูปสามมิติ โดยวิธีที่นิยมในปัจจุบันมีดังนี้ กะโหลกศีรษะเดิม กะโหลกศีรษะเดิมของผู้ป่วย โดยหลังจากแพทย์ทำการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะแล้ว จำเป็นต้องเก็บกะโหลกศีรษะที่ผ่าตัดอย่างถูกวิธี เช่น เก็บไว้ในช่องท้องของผู้ป่วย หรือเก็บในตู้เย็นควบคุมอุณหภูมิ ข้อดี ของการใช้กะโหลกศีรษะเดิมของผู้ป่วยคือประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากใช้กระดูกของผู้ป่วยเอง ข้อเสีย หากเก็บไม่ถูกวิธีอาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ อีกทั้งอาจมีร่องบริเวณที่ปิดกะโหลกเนื่องจากกระดูกมีการสลายตัวบางส่วน ทำให้หลังผ่าตัดอาจะเห็นผิวหนังยุบตัวตามแนวที่ตัดกะโหลกได้ กะโหลกศีรษะเทียม โดยเครื่องพิมพ์สามมิติ จากวัสดุอะคริลิก PMMA หล่อกะโหลกศีรษะใหม่โดยใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ จากวัสดุอะคริลิก PMMA (Polymethyl methacrylate) การปิดกะโหลกวิธีนี้ใช้วัสดุเดียวกับการปั้นกะโหลกด้วยมือ แต่ก่อนที่จะได้รับการผ่าตัดนั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องทำการ X-Ray ผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อนำภาพที่ได้ไปขึ้นรูปสามมิติ และตัดวัสดุออกมาให้รูปทรงเหมือนกะโหลกศีรษะด้านตรงข้ามที่ทำการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ ข้อดี หลังผ่าตัดกะโหลกนั้นจะได้รูปทรงที่สวยกว่าเนื่องจากการพิมพ์วัสดุสามมิติที่ออกมานั้นจะจำเพาะกับผู้ป่วยเป็นรายบุลคล…
รักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตก

Testsimonial โอกาสครั้งที่สองกับการรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตกด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียมจาก Meticuly

เอาชนะข้อจำกัดในการรักษากระดูกเบ้าตาแตกด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียม กระดูกเบ้าตาเป็นหนึ่งในโครงสร้างที่มีความแข็งแรงไม่แพ้กระดูกส่วนอื่น ๆ ภายในร่างกาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การประสบอุบัติเหตุจากการถูกกระแทกที่บริเวณใบหน้าและกะโหลกศีรษะด้วยวัตถุที่มีขนาดใหญ่กว่าขอบเบ้าตา อย่างเช่น ลูกบอลหรือลูกเทนนิสในขณะที่เล่นกีฬา กำปั้นจากการถูกชก หรือการถูกกระแทกจากวัตถุอื่น ๆ ในขณะที่เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระดูกเบ้าตาที่แข็งแรงสามารถเกิดการแตกหักเสียหาย จนนำไปสู่การเกิดภาวะกระดูกเบ้าตาแตก (Orbital Fracture) ที่สามารถก่อให้เกิดการบาดเจ็บในหลายอวัยวะ ไม่ว่าจะเป็น ดวงตา, เปลือกตา, ระบบท่อน้ำตา, กระดูกรอบ ๆ เบ้าตาและกระดูกเบ้าตา, กระดูกโพรงไซนัส และสมองได้ ซึ่งภาวะกระดูกเบ้าตาแตกนั้น ถือเป็นการบาดเจ็บเกี่ยวกับดวงตาที่ร้ายแรง และเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาทันทีภายในระยะเวลาไม่เกิน 48 ชั่วโมง เพื่อเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียความสามารถในการมองเห็น โดยในวันนี้ Meticuly ก็ได้รับโอกาสอันดีจากคุณภาคิน หนึ่งในผู้ป่วยที่ได้เข้ารับการผ่าตัดรักษาซีสต์ ที่เกิดขึ้นมาจากการเข้ารับการผ่าตัดรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตกเมื่อราว ๆ 15-16 ปีที่แล้ว ที่จะมาร่วมพูดคุยถึงรายละเอียดในการรักษาและมุมมองเกี่ยวกับการเลือกใช้งานกระดูกเทียมไทเทเนียมจาก Meticuly ไปด้วยกันในบทความนี้ จุดเริ่มต้นของการผ่าตัดรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตก และวินาทีแรกที่พบความผิดปกติบนใบหน้า เมื่อประมาณ 15-16 ปีที่แล้ว คุณภาคินเล่าว่า ตนเองได้ประสบอุบัติเหตุจนเป็นผลทำให้กระดูกเบ้าตาแตกละเอียด และได้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยการรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตกในอดีตนั้นจะเป็นการรักษาไปตามอาการด้วยวิธีการขันนอตเพื่อทำการยึดกระดูกเบ้าตาเอาไว้ด้วยกัน โดยหลังจากนั้นคุณภาคินก็เล่าต่อว่า ตนเองก็ได้ใช้ชีวิตมาตามปกติราว ๆ…
1 เดือนกับ 9 วิธี ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

9 วิธี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ต้อนรับเดือน National Wellness กับ เมติคูลี่

1 เดือนกับ 9 วิธี ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น รู้หรือไม่ว่า ? เดือนสิงหาคมของทุกปี คือ เดือนที่ถูกยกย่องให้เป็น National Wellness Month โดย National Wellness Month ถูกพูดถึงเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2018 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนหันมาเริ่มต้นให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของตัวเองแบบองค์รวม ทั้งทางด้านของสุขภาพจิต สุขภาพกาย และสุขภาพใจ ผ่านการฝึกจัดการกับความเครียด การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการลงมือทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ที่สามารถช่วยส่งเสริมด้านสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นแล้ว เนื่องในโอกาสที่เดือนสิงหาคมได้เวียนกลับมาถึงอีกครั้ง วันนี้ Meticuly ในฐานะของการเป็นบริษัทผู้ผลิตวัสดุทดแทนกระดูกและกะโหลกเทียมไทเทเนียม จึงอยากจะขอเชิญชวนทุกคนมาร่วมตั้งเป้าหมายในการดูแลร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของตัวเอง ผ่าน 9 วิธีการง่าย ๆ ที่สามารถช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ให้กับคุณได้มากกว่าที่คิดภายในระยะเวลา 31 วัน ! หมั่นออกกำลังกาย การออกกำลังกายไม่ได้เป็นเพียงแค่วิธีการที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้เราสามารถมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ และสามารถควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อการห่างไกลจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่านั้น แต่การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย…
900 2 Pre vs post copy

การใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติในการผ่าตัดปิดกะโหลกเทียม

ประสิทธิภาพในการใช้งานกะโหลกเทียมไทเทเนียมที่ผ่านการออกแบบด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์และวิศวกรรมในปัจจุบันนี้ เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ช่วยผลักดันให้การผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ (Cranioplasty) ด้วยกะโหลกเทียมไทเทเนียมภายหลังจากการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ (Craniectomy) เพื่อรักษาชีวิตของผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุอย่างรุนแรงจนทำให้กะโหลกศีรษะเกิดการแตกหักเสียหาย หรือผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง อย่างเช่น มะเร็งกระดูก เนื้องอกในสมอง หรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง (Stroke) สามารถช่วยพลิกโฉมแนวทางในการรักษาทั้งสภาพร่างกายและสภาพจิตใจของผู้ป่วย เพื่อการช่วยฟื้นคืนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทุกคนให้ดีและมีความใกล้เคียงกับปกติมากขึ้นไปได้พร้อม ๆ กัน โดยในวันนี้ Meticuly จะขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเรื่องราวอันน่าทึ่งของการออกแบบและผลิตวัสดุทดแทนกระดูกอย่างกะโหลกเทียมไทเทเนียม ที่ได้มีการนำเอา “เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ” เข้ามาเป็นตัวช่วยในการประมวลผลและการจำลองรูปแบบกะโหลกศีรษะส่วนที่ขาดหายไปของผู้ป่วยขึ้นมาใหม่ เพื่อประโยชน์ในการช่วยทำให้ชิ้นงานกะโหลกเทียมไทเทเนียมที่ถูกผลิตขึ้นมานั้นมีความเหมาะสมและสามารถเข้ากันได้ดีกับสรีระร่างกายของผู้ป่วยที่จะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคลได้มากที่สุด กว่าจะมาเป็นกะโหลกเทียมไทเทเนียม ในปัจจุบันนี้ กะโหลกเทียมไทเทเนียม เป็นวัสดุทดแทนกระดูกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย เพื่อการช่วยทดแทนกะโหลกศีรษะเดิมของมนุษย์ที่ไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองหรือถูกสร้างขึ้นมาใหม่ได้ในกรณีที่แผ่นกะโหลกศีรษะได้รับความเสียหายจากการประสบอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งและเนื้องอก รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง (Stroke) โดยแรกเริ่มเดิมทีก่อนที่จะมีการเลือกใช้กะโหลกเทียมไทเทเนียมนั้น ทีมแพทย์ส่วนใหญ่มักจะนิยมเลือกนำเอาวัสดุทดแทนกระดูกอย่าง ซีเมนต์กระดูก (Bone Cement)หรืออะคริลิก มาใช้ในการปั้นขึ้นรูปเป็นแผ่นกะโหลกผ่านการคาดคะเนด้วยมือและสายตา ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาคือ กะโหลกศีรษะที่ได้ออกมามักจะมีรูปทรงที่ ไม่ได้พอดีกับผู้ป่วย มีความนูนสูง-ต่ำที่ไม่เท่ากันจนส่งผลทำให้รูปลักษณ์ภายนอกของกะโหลกศีรษะไม่สวยงามเหมือนรูปทรงของศีรษะเดิม ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อความสวยงามรวมถึงสภาพจิตใจและความมั่นใจในการใช้ชีวิตของผู้ป่วยแล้ว ยังอยากส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัดที่อาจนำไปสู่การผ่าตัดแก้ไขในอนาคต เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติกับกะโหลกเทียมไทเทเนียม เพื่อเป็นการช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้งานกะโหลกเทียมจากซีเมนต์กระดูกหรือวัสดุอื่น ๆ ในการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะให้กับผู้ป่วย และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูร่างกายจนสามารถกลับมาใช้ชีวิตและทำกิจกรรมต่าง ๆ…
กะโหลกเทียมไทเทเนียม

ภาวะบาดเจ็บทางสมองและการบกพร่องทางอารมณ์กับการรักษาด้วยกะโหลกเทียม

กะโหลกเทียมแนวทางในการฟื้นฟูภาวะบกพร่องทางอารมณ์ในผู้ป่วยที่บาดเจ็บทางสมอง ไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่าในปัจจุบันนี้ ภาวะบาดเจ็บทางสมอง (Traumatic Brain Injury: TBI) นับได้ว่าเป็นหนึ่งในปัญหาทางด้านสุขภาพและสาธารณสุขที่ทั่วโลกกำลังหันมาให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในแต่ละปี มีผู้ป่วยมากถึง 42 ล้านรายจากทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับภาวะสมองบาดเจ็บทั้งในระดับเล็กน้อยที่ร่างกายสามารถฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บได้เอง และในระดับรุนแรงที่ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องใช้กะโหลกเทียมเป็นตัวช่วยในการผ่าตัดรักษา หลังจากที่ได้เข้ารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อรักษาอาการสมองบวมหรือเลือดออกในสมองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยถึงแม้ว่าผู้ป่วยสมองบาดเจ็บกว่า 70-90% จะมีอาการบาดเจ็บอยู่ในระดับเล็กน้อย (Mild Traumatic Brain Injury: MTBI) ซึ่งไม่ได้มีความรุนแรงจนถึงขั้นที่จะต้องมีการใช้งานกะโหลกเทียมหรือนำไปสู่การเสียชีวิต แต่ภาวะบาดเจ็บทางสมองก็ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั้งสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจของผู้ป่วยได้ไม่น้อยเช่นกัน ภาวะบาดเจ็บทางสมองและการบกพร่องทางอารมณ์เกี่ยวข้องกันอย่างไร ? สมอง (Brain) เป็นหนึ่งในอวัยวะสำคัญของร่างกายที่ทำหน้าที่ในการช่วยควบคุมความคิด ความจำ การมองเห็น การหายใจ อารมณ์ ความรู้สึก ตลอดจนทักษะในการเคลื่อนไหวและการควบคุมร่างกาย ดังนั้น เมื่อสมองเกิดการบาดเจ็บหรือได้รับการกระทบกระเทือน ไม่ว่าจะด้วยการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ การเกิดอุบัติเหตุในขณะที่กำลังเล่นกีฬา การพลัดตกจากที่สูง หรือการหกล้มจนก่อให้เกิดภาวะบาดเจ็บทางสมองนั้น ก็ย่อมเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การทำงานอันสลับซับซ้อนของสมองเกิดการบกพร่อง ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถทั้งในการควบคุมร่างกายและการควบคุมอารมณ์ที่บกพร่องตามไปด้วย โดยเมื่อร่างกายของคนเราประสบกับภาวะบาดเจ็บทางสมอง หนึ่งในของผิดปกติในระยะปฐมภูมิ (Primary Injury) ที่เราสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนมากที่สุดในทันที คือ อาการสับสน มึนงง อ่อนแรง สูญเสียการทรงตัว หมดสติ ศีรษะบวมโน…
รู้จักกับมะเร็งช่องปากและมะเร็งกระดูกขากรรไกร

รู้จักกับมะเร็งช่องปากและมะเร็งกระดูกขากรรไกร ภัยร้ายที่ป้องกันได้หากรู้ทัน

รู้เสี่ยงเลี่ยงภัย โรคมะเร็งช่องปากและมะเร็งกระดูกขากรรไกร หากพูดถึงสถานการณ์การป่วยเป็น “โรคมะเร็ง” ที่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในคนที่มีอายุน้อยลงมากยิ่งขึ้น จนกลายมาเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประชากรทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยนั้น ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า แม้ว่าในแต่ละปีจะมีการพบผู้ป่วยมะเร็งช่องปากและมะเร็งกระดูกขากรรไกรรายใหม่สูงถึง 4,214 คน แต่มะเร็งช่องปากก็ยังคงไม่ใช่มะเร็งประเภทแรก ๆ ที่คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังและการตรวจคัดกรองโรคมากสักเท่าไหร่นัก ด้วยเพราะคิดว่าการเกิดมะเร็งช่องปากและมะเร็งกระดูกขากรรไกรมักจะเกิดขึ้นในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปเท่านั้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมะเร็งช่องปากและมะเร็งกระดูกขากรรไกรในประเทศไทยกว่า 80% จึงมักมาพบแพทย์เมื่อมะเร็งดังกล่าวอยู่ในระยะลุกลาม จนทำให้โอกาสในการรักษามะเร็งช่องปากให้หายขาดนั้นน้อยลงตามไปด้วย เพื่อสร้างความตระหนักรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับมะเร็งช่องปากให้กับประชาชนทุกคน Meticuly ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยมอบความรู้โดยรวมเกี่ยวกับเกี่ยวกับมะเร็งช่องปากและมะเร็งกระดูกขากรรไกร เพื่อรณรงค์ให้ทุกคนหันมาให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงและการตรวจคัดกรองมะเร็งช่องปากและมะเร็งกระดูกขากรรไกรกันมากยิ่งขึ้น ทำความรู้จักกับมะเร็งช่องปากและมะเร็งกระดูกขากรรไกร มะเร็งช่องปาก หรือมะเร็งในช่องปาก (Oral cancer) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของก้อนเนื้อร้ายที่มีการเจริญเติบโตขึ้นในช่องปาก รวมถึงริมฝีปาก ลิ้น แก้ม และลำคอ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมะเร็งช่องปากจะสามารถแบ่งแยกย่อยลงไปได้อีกหลายประเภท อาทิ มะเร็งริมฝีปาก มะเร็งลิ้น มะเร็งเหงือก มะเร็งเพดานอ่อนและเพดานแข็ง มะเร็งกระดูกขากรรไกร ตลอดจนมะเร็งโพรงโหนกแก้ม และมะเร็งต่อมน้ำลาย เป็นต้น โดยเมื่อราว ๆ 20 ปีกว่าก่อน มะเร็งช่องปากถือได้ว่าเป็นมะเร็งประเภทที่สามารถพบเจอได้เป็นอันดับต้น ๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มักจะเป็นมะเร็งช่องปากและมะเร็งกระดูกขากรรไกรมากกว่าเพศชาย เนื่องจากพฤติกรรมการเคี้ยวหมากและเคี้ยวพลู แต่อย่างไรก็ตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเพศชายก็ถือเป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่สามารถก่อให้เกิดมะเร็งช่องปากและมะเร็งกระดูกขากรรไกรได้เช่นเดียวกัน…
ความสำเร็จของการรักษาผ่าตัดเปิดกะโหลกและใช้กะโหลกเทียมไทเทเนียม

ชนะความกลัว ด้วยความกล้า

ความสำเร็จของการรักษาผ่าตัดเปิดกะโหลกและใช้กะโหลกเทียมไทเทเนียม “กระดูกเทียมไทเทเนียม คือ สิ่งที่จะต้องพลิกคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น” นี่คือนิยามสั้น ๆ ที่นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ที่สามารถอธิบายถึงแนวคิดและความมุ่งมั่นของการเดินทางบนเส้นทางของการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ร่วมกับเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรม ที่ทีมงาน Meticuly ทุกคนได้ต่อสู้และฝ่าฟันร่วมกันมาตั้งแต่ที่ได้มีการก่อตั้งบริษัทผู้ผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียม “Meticuly” ขึ้นเป็นรายแรกของประเทศไทย ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2560 ได้เป็นอย่างดี ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 5 ปีที่ผ่านมานี้ Meticuly ยังคงคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตวัสดุทดแทนกระดูก หรือ กระดูกเทียมไทเทเนียมขึ้นมาอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อจุดมุ่งหมายสำคัญในการ “เอาชนะ” ข้อจำกัดทางธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ ที่ไม่สามารถสร้างกระดูกชิ้นใหม่ขึ้นมาทดแทนกระดูกชิ้นเดิมที่เสียหายจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเนื้องอกและมะเร็งกระดูก หรือจากการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงได้ โดยในวันนี้ทาง Meticuly ก็ได้รับโอกาสอันดีจากคุณธวัชชัย หนึ่งในผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่บริเวณศีรษะ ที่ได้เข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยเทคโนโลยีกระดูกเทียมไทเทเนียมจาก Meticuly ที่ได้อนุญาตให้เราได้ทำการบอกเล่าถึงเรื่องราวของการพยายาม “ชนะความกลัว ด้วยความกล้า” ของคุณธวัชชัย ที่ทำให้ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่บริเวณศีรษะวัย 29 ปี รายนี้ สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกครั้ง โดยเรื่องราวต่าง ๆ ของคุณธวัชชัยจะมีอะไรที่น่าสนใจบ้างนั้น ลองมาติดตามไปพร้อม ๆ กันได้ในบทความนี้ จุดเริ่มต้นของคุณธวัชชัย ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2561 เช่นเดียวกันชีวิตของใครหลาย ๆ…
ฟื้นฟูรักษาโดยใช้กะโหลกเทียม

อาการบาดเจ็บทางสมอง กับการฟื้นฟูรักษาโดยใช้กะโหลกเทียม

อาการบาดเจ็บทางสมอง กับการฟื้นฟูรักษาโดยใช้กะโหลกเทียม เมื่อพูดถึงการเกิดอุบัติเหตุ แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากให้สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นกับตัวเอง คนใกล้ตัว หรือคนที่เรารัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการเกิดอุบัติเหตุนั้นเป็นการเกิดอุบัติเหตุจากการกระแทกหรือการได้รับการกระทบกระเทือนที่บริเวณศีรษะและสมองอย่างรุนแรง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ “ภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI)” จนนำไปสู่การทำให้เกิดความพิการทางด้านร่างกาย ที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ จิตใจ และสติสัมปชัญญะของผู้ป่วย หรืออาจจะรุนแรงไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ในท้ายที่สุด แต่อย่างไรก็ตามด้วยความก้าวหน้าของนวัตกรรมทางการแพทย์ในปัจจุบันนี้ส่งผลให้เราสามารถรักษาภาวะบาดเจ็บทางสมอง และช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นตัวจากการรักษาจนสามารถกลับมาดูแลและช่วยเหลือตัวเองได้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ด้วยนวัตกรรมการรักษาด้วย “กะโหลกเทียม” จากไทเทเนียมโดย Meticuly ทำความรู้จักกับภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI) ภาวะบาดเจ็บทางสมอง หรือ Traumatic Brain Injury (TBI) เป็นอาการบาดเจ็บที่กะโหลกศีรษะและสมองที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุโดยที่ทุกสาเหตุล้วนมีแรงกระทำจากภายนอกเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการบาดเจ็บแบบปิด (Non-penetrating TBI) ที่เกิดขึ้นการได้รับการกระแทกอย่างรุนแรงที่บริเวณศีรษะและลำตัวจากการหกล้ม อุบัติเหตุทางรถยนต์ อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา หรือการบาดเจ็บจากแรงระเบิด เป็นต้น ตลอดจนการบาดเจ็บแบบเปิด (Penetrating TBI) จากการถูกวัตถุ อย่างเช่น กระสุน เศษกระดูก หรือมีด เจาะเข้ามาที่บริเวณกะโหลกศีรษะและสมอง แน่นอนว่าไม่ใช่การบาดเจ็บจากการกระแทกทั้งหมดจะนำไปสู่การเกิดภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI) ที่ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยกะโหลกเทียมไทเทเนียม แต่อย่างไรก็ตามเมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บจากแรงกระแทกโดยเฉพาะที่บริเวณศีรษะและสมอง สิ่งที่สำคัญคือการหมั่นเฝ้าดูอาการบาดเจ็บอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยให้สามารถนำผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงทีหากมีความผิดปกติทางร่างกายเกิดขึ้น เพราะในบางครั้งอาการบาดเจ็บที่สมองนั้นก็ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นทันทีหลังจากเกิดการบาดเจ็บ…
กระดูกเทียมไทเทเนียม

แนวทางการฟื้นฟูร่างกายหลังได้รับการผ่าตัดกระดูกเทียมไทเทเนียม

หลังจากการผ่าตัดกระดูกเทียมไทเทเนียม ผู้ป่วยทุกคนจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยที่ต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคเกี่ยวกับมะเร็งกระดูกหรือเนื้องอกที่ทำลายกระดูก ตลอดจนการประสบอุบัติเหตุอย่างรุนแรงที่ส่งผลทำให้กระดูกเกิดการแตกหักเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติอีกต่อไป หนึ่งในทางเลือกใหม่ในการรักษาที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยและกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติคือ การเลือกใช้วัสดุทดแทนกระดูก หรือ “กระดูกเทียมไทเทเนียม” การเข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยการใช้กระดูกเทียมไทเทเนียม ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ การผ่าตัดรักษากระดูกเบ้าตาแตก หรือกระดูกโหนกแก้มแตก ตลอดจนการผ่าตัดเพื่อการรักษามะเร็งกระดูกขากรรไกร ถือเป็นหนึ่งในการทำหัตถการทางการแพทย์ครั้งใหญ่ที่อาจทำให้ผู้ป่วยต้องเสียเลือดเป็นจำนวนมากในระหว่างการผ่าตัดเพราะฉะนั้นหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยทุกคนควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในระหว่างการพักฟื้น เพื่อป้องกันอันตรายจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังจากการผ่าตัด และเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็วมากยิ่งขึ้น ในวันนี้ทาง Meticuly จึงมีบทความดี ๆ เกี่ยวกับแนวทางในการดูแลและฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วยหลังจากได้เข้ารับการผ่าตัดรักษาหรือการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะด้วยการใช้กระดูกเทียมไทเทเนียมมาฝากผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยทุกคน การดูแลและฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วยหลังจากที่ได้มีการเข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียม การดูแลรักษาทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียม หลังจากที่ผ่าตัดโดยการใช้กระดูกเทียมไทเทเนียมในการรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตก กระดูกโหนกแก้มแตก มะเร็งกระดูกขากรรไกร หรือการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาโดยการใช้กระดูกเทียมไทเทเนียมจะต้องได้รับการตรวจวัดไข้ ตรวจวัดการหายใจ และตรวจวัดสัญญาณชีพอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนการดูแลรักษาตามอาการ เช่น การให้ออกซิเจน น้ำเกลือ อาหาร ยาแก้ปวด หรือยาปฏิชีวนะ จากทีมแพทย์และพยาบาลอย่างใกล้ชิดในระหว่างที่กำลังพักฟื้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนหลังจากการผ่าตัด การดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียมหลังจากการผ่าตัด ในการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างการพักฟื้นหลังจากการเข้ารับการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ การผ่าตัดรักษากระดูกเบ้าตาแตก หรือกระดูกโหนกแก้มแตก ตลอดจนการผ่าตัดเพื่อการรักษามะเร็งกระดูกขากรรไกรโดยการใช้กระดูกเทียมไทเทเนียม ผู้ป่วยทุกคนจะต้องได้รับการดูแลโดยพยาบาลวิชาชีพอย่างใกล้ชิด เพื่อตรวจสอบการทำงานของร่างกายและสมองอย่างเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การขยับของแขนขา ตลอดจนการทำงานและการตอบสนองของรูม่านตา และเพื่อการประเมินอื่น ๆ ตามสมควร เป็นต้นรวมไปถึงการช่วยเตรียมยาตามใบสั่งแพทย์ให้ถูกต้อง…
MRI digital x-ray of brain with team radiologist doctor oncology working together in clinic hospital. Medical healthcare concept.

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) กับการผ่าตัดสมองปิดกะโหลกด้วยกระโหลกเทียมไทเทเนียม

กระโหลกเทียมไทเทเนียม ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ประสบอุบัติเหตุอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดการแตกหัก เกิดความเสียหายของกะโหลกศีรษะ หรือการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง เช่น เนื้องอกในสมอง หรือโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง (Stroke) จนต้องเข้ารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อทำการรักษาและเพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียกะโหลกศีรษะบางส่วนไป ส่งผลให้ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถฟื้นตัวและกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ วันนี้ Meticuly จึงอยากจะขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke และแนวทางในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เคยเข้ารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ แล้วเลือกใช้กะโหลกเทียมไทเทเนียมจาก Meticuly ในการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ ทำความรู้จักกับโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นโรคที่เกิดจากการที่สมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงแบบเฉียบพลัน โดยมีสาเหตุมาจากการที่หลอดเลือดในสมองเกิดการแตก ตีบ หรืออุดตัน จนทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนส่งผ่านออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงสมองได้ตามปกติ ส่งผลให้เซลล์สมองและเนื้อเยื่อสมองถูกทำลาย ทำให้การทำงานของสมองบางส่วน หรือทั้งหมดเกิดความผิดปกติ จนร่างกายเริ่มแสดงอาการผิดปกติออกมา เช่น แขน ขา ใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งเกิดอาการชาหรืออ่อนแรง ตามัว เห็นภาพไม่ชัด หรือเห็นภาพซ้อนแบบเฉียบพลัน มีอาการมึนงง พูดไม่ชัด สื่อสารไม่เข้าใจ มีการทรงตัวที่ผิดปกติ หรือมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ เป็นต้น แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง แม้ว่าข้อมูลจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (National Institute for Emergency Medicine) จะระบุว่า…
กะโหลกเทียมไทเทเนียม

กะโหลกเทียมไทเทเนียมโดย Meticuly เพื่อเหยื่อกราดยิงที่โคราช

Meticuly ส่งมอบชิ้นงานกะโหลกเทียมให้กับทางโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เพื่อการนำไปใช้ในการผ่าตัดรักษาผู้ป่วย           คงไม่มีใครคาดคิดว่าการออกจากบ้านไปทำกิจกรรมปกติทั่วไปในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น การไปเดินเล่นหรือจับจ่ายใช้สอยในห้างสรรพสินค้าจะทำให้ต้องพบเจอกับเหตุการณ์ที่จะเปลี่ยนชีวิตของตนเองไปตลอดกาล เช่นเดียวกันกับคุณอัฑฒเศรษฐ์ ศิวภัทรวรัณกุล หรือคุณดำ หนึ่งในเหยื่อจากเหตุการณ์กราดยิงกลางเมืองที่เกิดขึ้นในศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา และนี่เองคือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวที่ทางบริษัท เมติคูลี่ จำกัด (Meticuly Co.,Ltd) ได้มีโอกาสเข้าไปให้การช่วยเหลือคุณอัฑฒเศรษฐ์ ด้วยการส่งมอบกะโหลกเทียมไทเทเนียมให้ เพื่อประโยชน์ในการใช้กะโหลกเทียมไทเทเนียมในการผ่าตัดรักษากะโหลกศีรษะบริเวณหน้าผากที่ได้รับความเสียหายจากการโดนยิงจนให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตามปกติอีกครั้ง จุดเริ่มต้นของการส่งมอบกะโหลกเทียมไทเทเนียมให้กับเหยื่อกราดยิงที่โคราช           แม้ว่าเวลาจะล่วงเลยมากว่า 2 ปีแล้ว แต่เหตุการณ์กราดยิงในศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช เมื่อช่วงต้นปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ยังคงเรียกได้ว่าเป็นโศกนาฏกรรมเขย่าขวัญครั้งใหญ่ที่เป็นความทรงจำที่โหดร้ายและไม่เคยเลือนหายไปจากใจของผู้บาดเจ็บและญาติของผู้เสียชีวิตทุกคน รวมไปถึงคนไทยอีกหลาย ๆ คนที่ยังคงให้ความสนใจและติดตามเรื่องราวของโศกนาฏกรรมดังกล่าวกันมาอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงทางบริษัท เมติคูลี่ จำกัด (Meticuly Co.,Ltd) เองก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์ดังกล่าวและคอยประสานงานกับหน่วยงานต่าง…
กระดูกเทียมไทเทเนียม

5 ขั้นตอนในการออกแบบและผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียมเฉพาะบุคคล

เจาะลึกเบื้องหลังการออกแบบและผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียมเฉพาะบุคคล        ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบันนี้วัสดุทดแทนกระดูกหรือกระดูกเทียมไทเทเนียม คือ หนึ่งในนวัตกรรมการรักษารูปแบบใหม่ซึ่งถือได้ว่าเป็นทางเลือกทางการแพทย์ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยทุกคนที่เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคร้าย อย่างเช่น โรคเนื้องอก หรือโรคมะเร็งที่ทำลายกระดูก หรือผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุอย่างรุนแรงจนทำให้กระดูกในบริเวณต่าง ๆ เกิดการแตกหักเสียหายจนทำให้กระดูกในบริเวณดังกล่าวไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งส่งผลทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันหรือช่วยเหลือตัวเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ        กระดูกเทียมไทเทเนียมที่ผลิตโดยบริษัทเมติคูลี่แต่ละชิ้นถูกออกแบบขึ้นมาเฉพาะบุคคล จึงทำให้กระดูกเทียมไทเทเนียมดังกล่าวมีรูปแบบและขนาดที่พอดีกับผู้ป่วยแต่ละคนเป็นอย่างดี ซึ่งจะแตกต่างไปจากวิธีการรักษาด้วยการใช้กระดูกทดแทนจากอวัยวะบริเวณอื่น ๆ ในร่างกายที่สามารถนำมาทดแทนกันได้ ยกตัวอย่างเช่น กระดูกขา หรือกระดูกสะโพก เป็นต้น รวมถึงการใช้กระดูกจากอาจารย์ใหญ่ที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีรูปแบบและขนาดที่ไม่พอดีกับผู้ป่วยอาจจะทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนในระหว่างและหลังการผ่าตัดรักษาได้        วันนี้ Meticuly จะขอพาทุกคนไปเจาะลึก 5 ขั้นตอนในการออกแบบและผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียมเฉพาะบุคคล ว่ากว่าจะมาเป็นกระดูกเทียมไทเทเนียมแต่ละชิ้นที่ให้ผู้ป่วยและทีมแพทย์ได้ใช้งานเพื่อบรรลุเป้าหมายในการผ่าตัดรักษาภาวะกระดูกที่แตกหักเสียหายนั้นจะต้องผ่านวิธีการและขั้นตอนอะไรบ้าง 5 ขั้นตอนในการออกแบบและผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียมเฉพาะบุคคล 1. ติดต่อเพื่อขอรายละเอียด CT scan        การผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียมของ Meticuly ทุกชิ้นเป็นการผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียมแบบเฉพาะบุคคล เพราะฉะนั้นเพื่อให้กระดูกเทียมไทเทเนียมของ Meticuly ทุกชิ้นสามารถเข้ากันกับลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้ป่วยทุกคนจึงต้องเข้ารับการทำ CT scan…
กระดูกเทียมไทเทเนียม

ทำไมต้องเลือกกระดูกเทียมไทเทเนียมจากเมติคูลี่

ทางเลือกในการรักษาภาวะกระดูกแตกหักเสียหายจากกระดูกเทียมไทเทเนียม        ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากการที่กระดูกแตกหักเสียหายไม่ว่าจะด้วยการประสบอุบัติเหตุที่รุนแรง หรือการเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับมะเร็งกระดูกหรือเนื้องอกกระดูกก็ตาม นับเป็นหนึ่งในความเจ็บปวดที่ไม่เพียงแต่จะส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยทางด้านร่างกายที่ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหาร เดิน วิ่ง หรือดำเนินชีวิตได้ตามปกติเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากการที่กระดูกแตกหักเสียหายนั้นยังส่งผลให้ผู้ป่วยต้องเผชิญหน้ากับความเจ็บป่วยทางด้านจิตใจ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่กระดูกชิ้นสำคัญภายในร่างกาย อย่างเช่น กะโหลกศีรษะ หรือกระดูกที่บริเวณใบหน้า เบ้าตา และขากรรไกรล่าง เป็นต้น เกิดการแตกหักเสียหายจนส่งผลทำให้รูปทรงของใบหน้าของผู้ป่วยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม        เพราะฉะนั้นแล้ว ความสำคัญของการมองหาทางเลือกในการรักษาให้กับผู้ป่วยที่ต้องเผชิญหน้ากับภาวะที่กระดูกเกิดจากการแตกหักเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพดังเดิมอีกต่อไป จึงไม่เพียงแต่จะต้องคำนึงถึงวิธีการรักษาที่ให้ผลดีที่สุดและก่อให้เกิดผลกระทบหลังจากการรักษาที่น้อยที่สุดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังจำเป็นที่จะต้องมองหาทางเลือกในการรักษาที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงเดิมหรือเหมือนเดิมมากที่สุดอีกครั้ง และนี่คือเหตุผลว่าทำไมผู้ป่วยที่กำลังมองหาทางเลือกในการรักษาภาวะกระดูกแตกหักเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุหรือการเกิดมะเร็งหรือเนื้องอกที่ทำลายกระดูก ถึงควรเลือกทางเลือกในการรักษาด้วยวิธีการใช้กระดูกเทียมไทเทเนียมจากเมติคูลี่ ทำไมต้องเลือกกระดูกเทียมไทเทเนียมจาก Meticuly ในการรักษา 1. การใช้งานกระดูกเทียมไทเทเนียมจาก Meticuly ให้ผลลัพธ์ในการผ่าตัดที่ดีที่สุดในระยะเวลาที่สั้นที่สุด        ระยะเวลาในการลงมือผ่าตัดรักษาผู้ป่วยที่กำลังประสบกับภาวะกระดูกแตกหักเสียหายทั้งจากการเกิดมะเร็งหรือเนื้องอกที่กระดูก หรือการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงก็ตาม ถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพ ระยะเวลา และผลลัพธ์ในการผ่าตัดรักษาผู้ป่วย รวมถึงคุณภาพชีวิตและความสามารถในการฟื้นตัวของผู้ป่วยที่กำลังอยู่ในช่วงพักฟื้นหลังจากที่ได้เข้ารับการผ่าตัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้ทางเลือกในการรักษากระดูกที่แตกหักเสียหายด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียมจาก Meticuly ที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นมาอย่างแม่นยำ โดยทีมแพทย์และที่วิศวกรผู้เชี่ยวชาญที่มีการนำมาเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) ที่ได้มาตรฐานในระดับสากลมาใช้ในการวางแผนเพื่อการออกแบบและสร้างกระดูกเทียมไทเทเนียมขึ้นมาเพื่อให้ได้ชิ้นส่วนกระดูกเทียมไทเทเนียมที่มีความเข้ากันกับสรีระร่างกายเดิมของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี จึงเป็นหนึ่งในทางออกสำคัญที่สามารถช่วยให้ทีมแพทย์ลดระยะเวลาในการผ่าตัดลงเพื่อผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้นในการรักษา  …
ภาวะกระดูกเบ้าตาแตก

ภาวะกระดูกเบ้าตาแตก กับเทคโนโลยีในการรักษา

แผ่นรองเบ้าตาไทเทเนียมกับการรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตก ภาวะกระดูกเบ้าตาแตก (Orbital Fracture) หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า Orbital Blowout Fracture เป็นหนึ่งในอาการบาดเจ็บอย่างรุนแรงที่สามารถพบเจอได้ทั่วไปในผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุ อย่างเช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ หรืออุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา ที่ส่งผลทำให้ผู้ป่วยได้รับการกระแทกอย่างรุนแรงที่บริเวณกะโหลกศีรษะและใบหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณเบ้าตาและบริเวณโดยรอบเบ้าตา จนทำให้กระดูกเบ้าตาและกระดูกอื่น ๆ ที่บริเวณดังกล่าวเกิดการแตกหักเสียหาย หรือในบางรายอาจได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บถึงขั้นที่ทำให้ลูกตาแตก ซึ่งอาจส่งผลกระทบที่ร้ายแรงจนทำให้ผู้ป่วยเกิดการสูญเสียการมองเห็นได้เลยทีเดียว เพราะฉะนั้นแล้ววิธีการที่ดีที่สุดที่จะสามารถช่วยรักษาและเยียวยาอาการบาดเจ็บจากการประสบกับอุบัติเหตุที่ส่งผลทำให้กระดูกเบ้าตาแตก เพื่อเป็นการช่วยป้องกันการสูญเสียและการช่วยรักษากล้ามเนื้อ กระดูก รวมถึงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่มีความสำคัญเกี่ยวกับดวงตาเอาไว้ ให้ผู้ป่วยยังมีความสามารถในการมองเห็นได้ คือ การที่ผู้ประสบกับภาวะกระดูกเบ้าตาแตกจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อประเมินความรุนแรงของอาการบาดเจ็บที่เกิดจากภาวะกระดูกเบ้าตาแตก และเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตกด้วยวิธีการที่เหมาะสมอย่างรวดเร็วที่สุดหลังจากวันที่ประสบอุบัติเหตุ เพื่อเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาของการมีแผลหรือพังผืดที่บริเวณเนื้อเยื่อของลูกตาที่อาจจะทำให้เกิดการดึงรั้งระหว่างเนื้อเยื่อภายในเบ้าตาและกระดูกเบ้าตาที่แตกจนทำให้ทีมแพทย์ทำการผ่าตัดรักษาได้ยากมากขึ้น รวมไปถึงยังเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยที่ประสบกับภาวะเบ้าตาแตกต้องประสบกับปัญหาจากการที่ขั้วประสาทตาถูกทำลายจนทำให้ลูกตาเกิดการหวำลึกในระยะยาวจนส่งผลต่อความสามารถในการกลอกตา และอาจทำให้ผู้ป่วยต้องประสบปัญหาในการมองเห็นภาพสิ่งของต่าง ๆ เป็นภาพซ้อนทับแบบถาวรได้ การประเมินอาการของผู้ป่วยก่อนการเข้ารับการผ่าตัดรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตก ภาวะกระดูกเบ้าตาแตกเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อบริเวณเบ้าตาและบริเวณโดยรอบเบ้าตา ซึ่งจะสังเกตได้ว่าผู้ป่วยที่มีอาการกระดูกเบ้าตาแตกส่วนใหญ่จะมักจะมีอาการชาที่แก้ม เปลือกตามบวมช้ำ ระดับลูกตาสองข้างไม่เท่ากัน เห็นภาพซ้อน รวมถึงไม่สามารถกลอกตาไปมาได้จนสุดเนื่องจากกล้ามเนื้อและกระดูกที่บริเวณดังกล่าว เกิดความเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวนี้ก็อาจจะไม่ปรากฏในผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกเบ้าตาแตกได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นแล้วเพื่อให้การวินิจฉัยโรคเป็นไปได้อย่างถูกต้องเพื่อการเข้าสู่กระบวนการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้ป่วยจึงจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยภาวะกระดูกเบ้าตาแตกอย่างละเอียดด้วยวิธีการเอกซเรย์ทางคอมพิวเตอร์ (Computed Tomography (CT) Scan) เพื่อให้ทีมแพทย์สามารถทราบได้ว่าอาการบาดเจ็บจากภาวะกระดูกเบ้าตาแตกเกิดขึ้นที่บริเวณไหนของศีรษะและใบหน้า และร่องรอยของการบาดเจ็บมีขนาดใหญ่มากน้อยเท่าไหร่ เพื่อที่ทางทีมแพทย์จะได้สามารถทำการประเมินอาการของผู้ป่วยและอธิบายถึงขั้นตอนในการรักษาได้ว่า ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาตามอาการและติดตามอาการต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ก่อนการเข้ารับการผ่าตัดภายในระยะเวลา…
กระดูกเทียมไทเทเนียม

Testimonial เคสผ่าตัดเนื้องอก มะเร็งกระดูกขากรรไกรล่าง

ความสำเร็จของการผ่าตัดมะเร็งขากรรไกรล่างด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียมจาก Meticuly เชื่อว่าหนึ่งในสิ่งที่ทุกคนล้วนปรารถนาให้เกิดขึ้นกับตัวเองอยู่เสมอ คือ การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย เพราะไม่ว่าใคร ๆ ก็ล้วนอยากที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข โดยที่ไม่ต้องคอยกังวลกับปัญหาสุขภาพ ส่งผลให้ในปัจจุบันนี้ มนุษย์เราได้มีการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ขึ้นมาอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อจุดมุ่งหมายสำคัญในการก้าวข้ามผ่านข้อจำกัดทางด้านการแพทย์ และช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับโรคร้ายที่เป็นอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในปี ค.ศ. 2017 บริษัทผู้ผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียมรายแรกของประเทศไทย “Meticuly” จึงได้ถือกำเนิดขึ้น เพื่อจุดมุ่งหมายสำคัญในการผลิตวัสดุทดแทนกระดูก หรือ กระดูกเทียม ขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนกระดูกจริง ๆ ของมนุษย์ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ ในกรณีที่กระดูกเดิมเกิดการแตกหักเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง หรือจากการเจ็บป่วยจากมะเร็งขากรรไกรล่าง เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสสำเร็จในการผ่าตัดรักษา และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้นได้อีกครั้ง โดยในวันนี้เราจะพาไปรู้จักกับเรื่องราวของการเข้ารับการผ่าตัดเนื้อกงอก มะเร็งกระดูกขากรรไกรล่าง (Mandible) ด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียมจาก Meticuly ของคุณแม่หนูถิน พลพิชัย ที่ถือเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของ Meticuly ที่ได้ช่วยให้ผู้ป่วยในวัย 75 ปีท่านนี้ สามารถหายจากการเป็นโรค มะเร็งที่บริเวณขากรรไกร และสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและใกล้เคียงกับปกติอีกครั้ง จุดเริ่มต้นของการรักษาผ่าตัดมะเร็งขากรรไกรล่างด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียม ย้อนกลับไปเมื่อราว ๆ 2-3 ปีก่อน ในช่วงปีพ.ศ.2562 คุณนิตยา…
55576468_515931635602701_5860108745085812736_n

โครงการกระดูกเทียมไทเทเนียมและอุปกรณ์ไทเทเนียม 100 ชิ้นเพื่อคนไทย

หนึ่งความภาคภูมิใจ… เมื่อวันหนึ่ง สิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น พร้อมหรือไม่ หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่ต้องทำการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ 

Doctor explain knee pain with model to patient

ผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกโดยใช้กระดูกเทียมไทเทเนียม ทดแทนกระดูกที่เสียหายไป

หนึ่งความภาคภูมิใจ… เมื่อวันหนึ่ง สิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น พร้อมหรือไม่ หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่ต้องทำการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ 

กระดูกเทียมไทเทเนียม

จากเทคโนโลยี สู่นวัตกรรมการผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียมทางการแพทย์

เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติสู่นวัตกรรมทางการแพทย์ศัลยกรรม กระดูกเทียมที่เป็นมากกว่าวัสดุเทียมจากเครื่องพิมพ์สามมิติ โลกของเรามีการหมุนไปข้างหน้าทุกวัน เช่นเดียวกันเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้งจนทำให้เทคโนโลยีได้ก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน และเป็นส่วนหนึ่งของวงการแพทย์มาอย่างช้านาน โดยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence - AI) หรือ เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติขั้นสูง (Additive manufacturing) ถือได้ว่าเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยให้ทีมแพทย์สามารถก้าวข้ามผ่านข้อจำกัดทางด้านการแพทย์ และสามารถผลิตอวัยวะเทียม หรือกระดูกเทียมไทเทเนียม ขึ้นมาใหม่เพื่อช่วยในการทดแทนกระดูกที่ต้องสูญเสียไปจากการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง หรือการเจ็บป่วยที่รุนแรง อย่างเช่น การเกิดเนื้องอก หรือมะเร็งกระดูก และช่วยให้ผู้ป่วยหายจากการอาการบาดเจ็บและสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติอีกครั้ง จากเทคโนโลยีสู่นวัตกรรมการผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียมทางการแพทย์ เทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) เทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) หรือปัญญาประดิษฐ์ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อการช่วยแบ่งเบาภาระงานให้กับทีมแพทย์และพยาบาล รวมไปถึงการช่วยลดต้นทุนในการตรวจวินิจฉัยโรค และช่วยพลิกโฉมให้การให้บริการด้านการแพทย์เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และมีความชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้เทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) ได้ถูกนำมาใช้งานร่วมกับเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เพื่อการวิเคราะห์ผลการตรวจโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับการออกแบบและพัฒนากระดูกเทียมไทเทเนียม ที่ได้มีการนำเอาเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) เข้ามาประยุกต์ใช้งานร่วมกับการตรวจวินิจฉัยและวิเคราะห์ผล…
Meticuly_1

กระดูกเทียมไทเทเนียมจาก Meticuly ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วย

ปัจจุบันนี้วัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตกระดูกเทียมส่วนใหญ่มักจะเป็นโลหะประเภทสเตนเลสสตีล ไทเทเนียม หรือโลหะผสมระหว่างโคบอลต์และโครเมียม ซึ่งสามารถเข้ากันได้ดีกับสรีระร่างกายตามธรรมชาติของมนุษย์ วัสดุทดแทนกระดูก หรือกระดูกเทียม เป็นหนึ่งในความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้มนุษย์เราสามารถก้าวข้ามผ่านข้อจำกัดในการรักษากระดูกที่เกิดการแตกหักเสียหายทั้งจากการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง และการเกิดโรคร้าย อย่างเช่น เนื้องอก และมะเร็งกระดูก เพื่อช่วยให้เราสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นคงและมีความสุขมากขึ้นอีกครั้ง ซึ่งในปัจจุบันนี้วัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตกระดูกเทียมส่วนใหญ่มักจะเป็นโลหะประเภทสเตนเลสสตีล ไทเทเนียม หรือโลหะผสมระหว่างโคบอลต์และโครเมียม ซึ่งสามารถเข้ากันได้ดีกับสรีระร่างกายตามธรรมชาติของมนุษย์ และไม่ก่อให้ผลข้างเคียงต่อสุขภาพในระยะยาว มาลองดูไปพร้อม ๆ กันเลยว่า ในปัจจุบันนี้หากกระดูกของเราเกิดความเสียหาย เราสามารถนำกระดูกเทียมไทเทเนียมมาใช้งานร่วมกับอวัยวะส่วนใดในร่างกายของเราได้บ้าง กระดูกเทียมไทเทเนียมสามารถใช้กับอวัยวะส่วนใดในร่างกายได้บ้าง ? กะโหลกศีรษะ กะโหลกศีรษะของมนุษย์เป็นหนึ่งในโครงสร้างที่มีความประณีตและซับซ้อนมากที่สุด เนื่องจากกะโหลกศีรษะของมนุษย์ประกอบขึ้นด้วยกระดูกหลายชิ้นที่จะค่อย ๆ เชื่อมต่อประสานเข้าด้วยกันในลักษณะที่มีความแตกต่างทั้งในด้านของรูปทรงและสัดส่วนซึ่งเป็นผลมาจากลักษณะทางพันธุกรรมและพัฒนาการทางด้านร่างกายที่แตกต่างกัน จนกลายมาเป็นกระดูกกะโหลกศีรษะแบบสมบูรณ์เพียงชิ้นเดียวเมื่อโตขึ้น ส่งผลให้การสร้างชิ้นส่วนของกะโหลกศีรษะด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียมของ Meticuly จึงถือเป็นหนึ่งในทางออกที่จะสามารถช่วยแก้ไขข้อจำกัดในการรักษากะโหลกศีรษะที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคลให้กับผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากการเป็นเนื้องอก การบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนแรง และการเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย สามารถฟื้นฟูร่างกายและยังคงไว้ซึ่งรูปร่างของกะโหลกศีรษะแบบเดิมที่เป็นลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยแต่ละรายได้ โดยกะโหลกศีรษะที่สร้างขึ้นมาจากกระดูกเทียมไทเทเนียมจะมีลักษณะเป็นตาข่ายซึ่งมีความหนาโดยรวมที่ 0.5 มิลลิเมตร และมีความแข็งแกร่งที่เพียงพอที่ทนต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยการออกแบบที่เป็นลักษณะตาข่ายนั้นจะช่วยในการลดน้ำหนักของกะโหลกศีรษะจากกระดูกเทียมไทเทเนียม และในการยึดกะโหลกศีรษะจากกระดูกเทียมไทเทเนียมเข้ากับกะโหละศรีษะบริเวณข้างเคียงนั้นจะมีการใช้สกรูแบบ Low Profile หรือสกรูหัวต่ำ เพื่อช่วยในการซ่อนหัวสกรูไม่ให้นูนขึ้นมาเหนือพื้นผิวหนังด้านนอกของกะโหลกศีรษะเทียมจากกระดูกเทียมไทเทเนียม เพื่อช่วยให้กะโหลกศีรษะมีความสวยงามและมีพื้นผิวที่สม่ำเสมอเหมือนกะโหลกของจริงมากที่สุด กระดูกใบหน้า การสร้างกระดูกใบหน้าขึ้นใหม่ด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียมของ Meticuly เป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่งที่จะสามารถช่วยแก้ไขความผิดปกติของกระดูกใบหน้าของผู้ป่วย ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากทั้งความผิดปกติที่มีมาตั้งแต่กำเนิด…
กระดูกเทียม

Meticuly ผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียม โดยคนไทย เพื่อคนไทย

กระดูกเทียมไทเทเนียม ทางเลือกในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยอย่างแท้จริง ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและวิทยาการทางการแพทย์สามารถช่วยให้มนุษย์ต่อสู้กับโรคภัยและความเจ็บป่วยต่าง ๆ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตในอดีต และมีชีวิตที่ยืนยาวมากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าหากลองมองย้อนกลับไปที่ราว ๆ 100 ปีที่แล้วเราจะพบว่า มนุษย์มีอายุขัยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 40 ปีเท่านั้น แต่ในปัจจุบันนี้มนุษย์กลับมีอายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ราว ๆ 80 ปี ซึ่งเพิ่มมากขึ้นกว่าศตวรรษที่แล้วถึง 2 เท่าเลยทีเดียว โดยจะเห็นได้ว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้ช่วยให้เราสามารถทำการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนอวัยวะเดิมที่เสื่อมสภาพลงไปตามอายุ หรืออวัยวะที่เสียหายจากการประสบอุบัติเหตุได้ดั่งใจ เพื่อช่วยให้เราสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างยาวนานและมีความสุขมากยิ่งขึ้น วันนี้เราจึงจะขอพาทุกคนไปรู้จักกับ “กระดูกเทียมไทเทเนียม” หนึ่งในนวัตกรรมใหม่ในการสร้างวัสดุทดแทนกระดูกจาก Meticuly ผู้นำด้านการผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียม โดยคนไทย เพื่อคนไทย ที่จะช่วยให้การปลูกถ่ายกระดูกในผู้ป่วยที่มีปัญหาจากการที่กระดูกเดิมเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการเกิดโรคที่ร้ายแรง เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติเหมือนเช่นดังเดิม กระดูกเทียมไทเทเนียม คืออะไร ? กระดูกเทียมไทเทเนียม ถือเป็นอีกหนึ่งความล้ำหน้าทางการแพทย์ที่ได้มีการนำเอาเทคนิคการพิมพ์ 3 มิติ (3D-Printing) มาประยุกต์ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีด้าน Artificial Intelligence (AI) เพื่อช่วยในการผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียมขึ้นมา เพื่อช่วยแก้ไขข้อจำกัดในการรักษากระดูกที่เสียหายหรือแตกหักของผู้ป่วย โดยหัวใจสำคัญของการสร้างกระดูกเทียมไทเทเนียม คือ การที่กระดูกเทียมไทเทเนียมจำเป็นจะต้องมีความปลอดภัย มีขนาดที่เหมาะสมและสามารถเข้ากันกับร่างกายของผู้ป่วย มีรูปร่างที่เหมือนกับกระดูกจริงมากที่สุด และสามารถใช้งานเพื่อการขยับหรือเคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดีไม่แพ้กระดูกจริง…
Patient Testimonial_3

นวัตกรรมกะโหลกเทียมไทเทเนียมของเมติคูลี่

หนึ่งความภาคภูมิใจ… เมื่อวันหนึ่ง สิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น พร้อมหรือไม่ หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่ต้องทำการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ