การดูแลและข้อควรระมัดระวังต่อผู้ป่วยผ่าตัดปิดกะโหลกโดยใช้กะโหลกเทียมไทเทเนียม

ผ่าตัดปิดกะโหลกโดยใช้กะโหลกเทียมไทเทเนียม

ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดปิดกะโหลก

ขั้นตอนของการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ หรือที่รู้จักกันในชื่อเรียกว่า “Cranioplasty” เพื่อซ่อมแซมช่องโหว่ของกะโหลกศีรษะด้วยกระโหลกเทียมไทเทเนียม กะโหลกศีรษะเดิม หรือกะโหลกเทียมจากอะคริลิก ในผู้ป่วยที่มีความจำเป็นจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ (Craniectomy) เพื่อลดความดันในกะโหลกศีรษะและรักษาอาการสมองบวมที่เกิดขึ้นจากภาวะสมองขาดเลือด เลือดออกในสมอง หรือการมีเนื้องอกที่บริเวณกะโหลกศีรษะ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนการรักษาที่มีความสำคัญสำหรับการฟื้นตัวของผู้ป่วย และการช่วยให้ผู้ป่วยทุกคนสามารถกลับมาดูแลและช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้นอีกครั้ง

แต่อย่างไรก็ตาม ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการจะผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะด้วยกระโหลกเทียมไทเทเนียมหรือวัสดุอื่น ๆ ย่อมมาพร้อมด้วยความเสี่ยง รวมไปถึงข้อควรระวังมากมายที่ทั้งผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกและผู้ดูแลจำเป็นจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยในวันนี้ Meticuly ในฐานะบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทดแทนกระดูกและกระโหลกเทียมไทเทเนียม เราจึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติและข้อควรระมัดระวังในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปิดกะโหลกแบบเบื้องต้น มาฝากผู้ป่วยและผู้ดูแลทุกคนกันในบทความนี้

ข้อควรสังเกตเกี่ยวกับอาการและการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดปิดกะโหลก (Cranioplasty)

  • หลังการผ่าตัดทันที
    หลังจากที่ผู้ป่วยผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ (Craniectomy) ถูกย้ายกลับมายังห้องพักฟื้นหลังจากการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ (Cranioplasty) ด้วยแผ่นปิดกะโหลกจากวัสดุทดแทน ผู้ป่วยจะยังคงมีอาการอ่อนแรงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังมีความต้องการที่จะงีบหลับในช่วงเวลาระหว่างวันที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งอาการดังกล่าวถือเป็นกระบวนการปกติที่ร่างกายจะใช้ในการบำบัดและฟื้นฟูตัวเองหลังจากที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้ารับการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะด้วยกระโหลกเทียมไทเทเนียมหรือวัสดุอื่น ๆ มักอาจจะมีอาการอ่อนแรงต่อเนื่องหลายสัปดาห์ และอาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย ซึ่งผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการดังกล่าวได้ตามที่แพทย์แนะนำ
  • หลังการผ่าตัดหนึ่งสัปดาห์
    ผู้ป่วยผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ (Craniectomy) มักจะใช้เวลาประมาณ 1-2 วันในการพักฟื้นในโรงพยาบาลหลังจากที่เข้ารับการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ แต่อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการฟื้นตัวดังกล่าวนั้นก็จะมีความแตกต่างกันออกไปตามปัจจัยเกี่ยวกับวิธีการผ่าตัดและวัสดุที่ใช้ในการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ ตลอดจนสุขภาพผู้ป่วยแต่ละบุคคล ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วหลังจากการผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์ หากผู้ป่วยผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะที่ได้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะไม่มีอาการแทรกซ้อน อาทิ แผลผ่าตัดบวม แดง มีเลือดหรือมีหนองซึม ทางทีมแพทย์ก็จะอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับไปพักรักษาตัวต่อที่บ้านได้ โดยในระหว่างการพักรักษาตัวนั้นผู้ป่วยจะต้องหมั่นรักษาความสะอาดของแผลและทำความสะอาดแผลตามที่แพทย์สั่ง ร่วมกับการหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับแผลผ่าตัด และมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามอาการหลังจากการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ (Cranioplasty)
  • หลังการผ่าตัดหนึ่งเดือน
    ในช่วงแรกของการพักฟื้น ผู้ป่วยผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะจะถูกจำกัดไม่ให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องออกแรงหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อแผลผ่าตัด อาทิ การขับรถ การยกของหนัก หรือการออกกำลังกาย เป็นต้น โดยหลังจากการพักฟื้นเป็นระยะเวลา 6-12 สัปดาห์ ทางทีมแพทย์จะมีการประเมินความสามารถในการฟื้นตัวของผู้ป่วยหลังจากการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะด้วยกระโหลกเทียมไทเทเนียมหรือวัสดุปิดกะโหลกศีรษะอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง และจะค่อย ๆ ลดข้อจำกัดในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยลง แต่ทั้งนี้หากผู้ป่วยพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับตัวเองหลังจากการลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ ผู้ป่วยควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพื่อการเฝ้าระวังและรักษาอาการแทรกซ้อนหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

การฟื้นตัวโดยรวมของผู้ป่วยผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ

ระยะเวลาในการฟื้นตัวหลังจากเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดปิดกะโหลก (Cranioplasty)ศีรษะของผู้ป่วยแต่ละคน จะมีความแตกต่างกันออกไปตามอายุ ความพร้อมทางด้านสุขภาพ รูปแบบของการผ่าตัด รวมถึงการเลือกใช้วัสดุกระโหลกเทียมไทเทเนียมหรือวัสดุอื่น ๆ สำหรับปิดกะโหลกศีรษะ

  • การพบแพทย์เพื่อติดตามผลหลังการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ
    โดยทั่วไปแล้ว ทีมแพทย์มักจะทำการนัดผู้ป่วยผ่าตัดเปิดกะโหลก (Craniectomy) ศีรษะเพื่อมาติดตามผลหลังการผ่าตัดในช่วงเวลาหนึ่งสัปดาห์ หนึ่งเดือน และสามเดือนหลังจากเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ แต่ในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังจากการผ่าตัด อาทิ มีการติดเชื้อ ปวดแผล แผลบวมแดง มีหนอง หรือมีไข้ ทีมแพทย์อาจมีการนัดผู้ป่วยเพื่อมาติดตามอาการอย่างต่อเนื่องมากกว่านั้น เพื่อเป็นการช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนและช่วยให้ผู้ป่วยผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะสามารถฟื้นตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • อาการผิดปกติที่สามารถพบเจอได้หลังจากเข้ารับการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะอาการผิดปกติที่สามารถพบเจอได้ทั่วไป
    • รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
    • ต้องการการพักผ่อนในช่วงบ่าย
    • อาการปวดหัวเป็นระยะ ๆ

    อาการผิดปกติที่จำเป็นจะต้องไปพบแพทย์ในทันที

    • มีอาการปวดหัวเพิ่มมากขึ้น
    • มีไข้
    • มีอาการชัก
    • มีอาการบวมหรือติดเชื้อที่บริเวณบาดแผล
    • มีของเหลวซึมหรือไหลออกจากบริเวณบาดแผล

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงหลังการผ่าตัดปิดกะโหลกโดยใช้วัสดุทดแทน หรือกะโหลกเทียมไทเทเนียม

  • งดทำกิจกรรมที่อาจส่งผลต่อการกระทบกระเทือนบริเวณกะโหลกศีรษะ หรือบริเวณที่ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัด
  • งดออกกำลังกายที่ใช้บริเวณศีรษะในการเล่น เช่น ตะกร้อ ฟุตบอล
  • หลีกเลี่ยงการแกะหรือเกาบริเวณผ่าตัดปิดกะโหลก เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการติดเชื้อบริเวณดังกล่าวได้

ความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ

ในการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ ผู้ป่วยทุกคนมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อในทุกขั้นตอนของการผ่าตัด เพราะฉะนั้นแล้วผู้ป่วยและผู้ดูแลจึงจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของทีมแพทย์อย่างเคร่งครัด ร่วมกับการหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อที่จะนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย

ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วอาการผิดปกติที่สามารถพบเจอได้หลังจากเข้ารับการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะมักจะมีรายละเอียด ดังนี้

  • เลือดออก : แม้ว่าการมีเลือดออกหลังจากการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่หากพบว่าบริเวณแผลผ่าตัดของผู้ป่วยมีเลือดออกหรือมีเลือดซึม ควรรีบแจ้งให้ทีมแพทย์ทราบในทันที
  • อัมพฤกษ์หรืออัมพาต : ในการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะให้กับผู้ป่วยบางรายอาจมีความเสี่ยงที่จะมีเลือดออกหรือมีลิ่มเลือดอุดตันในสมอง จนนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่นำไปสู่การเกิดอาการอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้
  • การรั่วซึมของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (CSF) : แม้ว่าความผิดปกติดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นไม่บ่อยในการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ แต่หากมีความผิดปกติเกี่ยวกับการรั่วซึมของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังเกิดขึ้น ซึ่งสังเกตได้จากการที่ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง มึนงง หรือมีน้ำใส ๆ คล้ายน้ำเปล่าไหลหยดออกทางรูจมูกหรือรูหู ผู้ป่วยก็จำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดหรือการระบายน้ำทิ้งอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิต
  • อาการชา : อาการชาเป็นอาการปกติที่สามารถพบเจอได้ในผู้ป่วยผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะที่เข้ารับการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วอาการดังกล่าวมักจะดีขึ้นภายใน 6 เดือน แต่ในผู้ป่วยบางรายก็อาจเกิดอาการชาแบบถาวรได้เช่นกัน
  • โรคอัมพาตใบหน้า : เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่พบเจอได้ไม่บ่อยนักในผู้ป่วยผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ ซึ่งอาการดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการอักเสบหรือการได้รับบาดเจ็บที่บริเวณเส้นประสาทบนใบหน้า หากปล่อยไว้ก็อาจส่งผลให้การเคลื่อนไหวของใบหน้าหลังจากการผ่าตัดมีความผิดปกติ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นอาการผิดปกติแบบชั่วคราว แต่ก็สามารถเกิดขึ้นแบบถาวรได้เช่นเดียวกัน

Meticuly คือ บริษัทผู้ผลิตวัสดุทดแทนกระดูกอย่าง กระดูกเทียมไทเทเนียม และกระโหลกเทียมไทเทเนียม ที่เป็นเจ้าของการออกแบบและกระบวนการผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO และ USFDA ซึ่งเป็นการช่วยสร้างความมั่นใจให้กับแพทย์และผู้ป่วยผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะทุกท่านได้ว่า สิ่งที่ท่านได้รับจะเป็นกระดูกเทียมไทเทเนียมและกะโหลกเทียมไทเทเนียมจากฝีมือคนไทยที่มีคุณภาพสูงสุดในระดับสากล และเป็นทางเลือกในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการใช้งานวัสดุทดแทนกระดูกอย่างแท้จริง

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ :
บริษัท เมติคูลี่ จำกัด
Email : [email protected]
Facebook : meticuly
LinkedIn : meticuly
Line : @meticuly
โทรศัพท์ : 02 334 0539

Share This

Copy Link to Clipboard

Copy