แนวทางการฟื้นฟูร่างกายหลังได้รับการผ่าตัดกระดูกเทียมไทเทเนียม

กระดูกเทียมไทเทเนียม

หลังจากการผ่าตัดกระดูกเทียมไทเทเนียม ผู้ป่วยทุกคนจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด

ผู้ป่วยที่ต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคเกี่ยวกับมะเร็งกระดูกหรือเนื้องอกที่ทำลายกระดูก ตลอดจนการประสบอุบัติเหตุอย่างรุนแรงที่ส่งผลทำให้กระดูกเกิดการแตกหักเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติอีกต่อไป หนึ่งในทางเลือกใหม่ในการรักษาที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยและกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติคือ การเลือกใช้วัสดุทดแทนกระดูก หรือ “กระดูกเทียมไทเทเนียม”

การเข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยการใช้กระดูกเทียมไทเทเนียม ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ การผ่าตัดรักษากระดูกเบ้าตาแตก หรือกระดูกโหนกแก้มแตก ตลอดจนการผ่าตัดเพื่อการรักษามะเร็งกระดูกขากรรไกร ถือเป็นหนึ่งในการทำหัตถการทางการแพทย์ครั้งใหญ่ที่อาจทำให้ผู้ป่วยต้องเสียเลือดเป็นจำนวนมากในระหว่างการผ่าตัดเพราะฉะนั้นหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยทุกคนควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในระหว่างการพักฟื้น เพื่อป้องกันอันตรายจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังจากการผ่าตัด และเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็วมากยิ่งขึ้น ในวันนี้ทาง Meticuly จึงมีบทความดี ๆ เกี่ยวกับแนวทางในการดูแลและฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วยหลังจากได้เข้ารับการผ่าตัดรักษาหรือการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะด้วยการใช้กระดูกเทียมไทเทเนียมมาฝากผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยทุกคน

การดูแลและฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วยหลังจากที่ได้มีการเข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียม

  1. การดูแลรักษาทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียม หลังจากที่ผ่าตัดโดยการใช้กระดูกเทียมไทเทเนียมในการรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตก กระดูกโหนกแก้มแตก มะเร็งกระดูกขากรรไกร หรือการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาโดยการใช้กระดูกเทียมไทเทเนียมจะต้องได้รับการตรวจวัดไข้ ตรวจวัดการหายใจ และตรวจวัดสัญญาณชีพอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนการดูแลรักษาตามอาการ เช่น การให้ออกซิเจน น้ำเกลือ อาหาร ยาแก้ปวด หรือยาปฏิชีวนะ จากทีมแพทย์และพยาบาลอย่างใกล้ชิดในระหว่างที่กำลังพักฟื้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนหลังจากการผ่าตัด
  2. การดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียมหลังจากการผ่าตัด ในการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างการพักฟื้นหลังจากการเข้ารับการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ การผ่าตัดรักษากระดูกเบ้าตาแตก หรือกระดูกโหนกแก้มแตก ตลอดจนการผ่าตัดเพื่อการรักษามะเร็งกระดูกขากรรไกรโดยการใช้กระดูกเทียมไทเทเนียม ผู้ป่วยทุกคนจะต้องได้รับการดูแลโดยพยาบาลวิชาชีพอย่างใกล้ชิด เพื่อตรวจสอบการทำงานของร่างกายและสมองอย่างเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การขยับของแขนขา ตลอดจนการทำงานและการตอบสนองของรูม่านตา และเพื่อการประเมินอื่น ๆ ตามสมควร เป็นต้นรวมไปถึงการช่วยเตรียมยาตามใบสั่งแพทย์ให้ถูกต้อง การพลิกตะแคงตัวทุก ๆ 2 ชั่วโมง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับในระหว่างที่ผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัวและการจัดตำแหน่งการนอนของผู้ป่วยอย่างถูกต้องเพื่อให้ศีรษะของผู้ป่วยอยู่สูงกว่าลำตัวเพื่อป้องกันการบวมของศีรษะและใบหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะที่จะต้องมีการเฝ้าระวังเกี่ยวกับภาวะสมองบวมและระดับความดันภายในกะโหลกศีรษะมากเป็นพิเศษ
  3. การดูแลสุขอนามัยของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียม การเข้ารับการผ่าตัดใหญ่อย่างการผ่าตัดรักษากระดูกเบ้าตาแตก กระดูกโหนกแก้มแตก หรือการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียม อาจทำให้ผู้ป่วยต้องใช้เวลาในการพักฟื้นที่มากกว่าการผ่าตัดทั่วไปตั้งแต่ประมาณ 5-10 วัน ไปจนถึงหลายเดือน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและความแข็งแรงของตัวผู้ป่วยเอง ฉะนั้นในระหว่างที่ผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัวหรือยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจวัตรต่างๆได้ ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลในด้านของสุขอนามัยเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยดูดเสมหะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้ท่อช่วยหายใจด้วยการเจาะคอ การดูแลสายสวนปัสสาวะ การดูแลแผล ตลอดจนการดูแลทำความสะอาดร่างกายให้กับผู้ป่วยด้วยการหมั่นเช็ดตัวและเปลี่ยนเสื้อผ้าให้กับผู้ป่วยเป็นประจำ เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนที่กระทบต่อผลการผ่าตัดรักษาด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียมได้
  4. การดูแลรักษาผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียมโดยทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟู นอกเหนือไปจากการดูแลรักษาทางการแพทย์และการดูแลสุขอนามัยต่าง ๆ ของผู้ป่วยแล้ว ผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างการพักฟื้นหลังจากเข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยการใช้กระดูกเทียมไทเทเนียม จะต้องเข้ารับการประเมินสภาพร่างกายโดยทีมแพทย์และพยาบาลในแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและทำกายภาพบำบัด เช่น การทำกายบริหารกล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อลีบ การฝึกกลืนอาหารสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางสายยางเป็นเวลานานเพื่อป้องกันการสำลักน้ำและอาหารเข้าสู่ปอด การเคาะปอดและการดูดเสมหะเพื่อเป็นการช่วยป้องกันการเกิดภาวะปอดอักเสบหรือการติดเชื้อในปอด เป็นต้นการทำกิจกรรมบำบัดต่าง ๆ เช่น การฝึกเกาะยืนในผู้ป่วยที่มีปัญหาในด้านการเคลื่อนไหว หรือการฝึกพึ่งพาตนเองเพื่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การฝึกแต่งตัว ติดกระดุมเสื้อ หวีผม หรือการหยิบของชิ้นเล็ก ๆ เป็นต้น ซึ่งการเข้ารับการดูแลโดยทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟูจะสามารถช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดปัญหาสมรรถภาพร่างกายถดถอย เกิดโรคเรื้อรัง หรือเกิดความพิการ จากการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการพักฟื้น และช่วยกระตุ้นให้ร่างกายของผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว มีความแข็งแรงสมบูรณ์พร้อม เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตและทำกิจกรรมต่าง ๆได้ใกล้เคียงปกติภายในระยะเวลาหลังจากการเข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยการใช้กระดูกเทียมไทเทเนียม
  5. การดูแลรักษาผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียมหลังจากการกลับมาพักฟื้นที่บ้าน เมื่อผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยการใช้กระดูกเทียมไทเทเนียมสำหรับการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ การผ่าตัดรักษากระดูกเบ้าตาแตก กระดูกโหนกแก้มแตก หรือการผ่าตัดเพื่อการรักษามะเร็งกระดูกขากรรไกร พ้นขีดอันตรายและร่างกายสามารถฟื้นตัวได้ดีมากขึ้นจนทีมแพทย์ลงความเห็นว่าสามารถออกจากโรงพยาบาลเพื่อกลับมาพักรักษาตัวต่อที่บ้านได้แล้วนั้น ผู้ป่วยยังคงต้องได้รับการดูแลจากญาติหรือผู้ดูแลในด้านต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการช่วยเตรียมสถานที่สำหรับการพักฟื้นให้มีความเหมาะสม เช่น การจัดห้องนอนให้อยู่ที่ชั้นล่าง หรือการเพิ่มราวจับยืนหรือการปูแผ่นรองกันลื่นภายในห้องน้ำ เป็นต้น

 

รวมไปถึงการดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ การพาผู้ป่วยไปทำกายภาพบำบัดเพื่อการฟื้นฟูร่างกายอย่างต่อเนื่อง การดูแลในด้านของโภชนาการอาหารที่ผู้ป่วยควรได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและอาหารเสริมในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันควบคู่ไปกับการได้รับประทานอาหารที่มีความเหมาะสมกับสภาพร่างกายของตัวผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะการกลืนลำบากควรได้รับประทานอาหารประเภทโจ๊กที่มีลักษณะเหลว หรืออาหารชิ้นเล็ก ๆ ที่มีลักษณะค่อนข้างนิ่ม เช่น เนื้อปลา เป็นต้น และที่สำคัญคือผู้ป่วยควรได้รับการดูแลในด้านของสภาพจิตใจให้มากเป็นพิเศษ เพราะการที่ต้องพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลหลังจากที่ได้เข้ารับการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ ผ่าตัดรักษากระดูกเบ้าตาแตก กระดูกโหนกแก้มแตก หรือมะเร็งกระดูกขากรรไกรโดยการใช้กระดูกเทียมไทเทเนียมเป็นเวลานาน ๆ แล้วผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตัวเองหรือลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้เหมือนอย่างที่เคยทำนั้นอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกเครียด หดหู่ วิตกกังวล จนอาจนำไปสู่การเกิดภาวะซึมเศร้าได้

Meticuly คือ บริษัทผู้ผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียมรายแรกของประเทศไทย ที่เป็นเจ้าของการออกแบบและกระบวนการผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO และ USFDA ซึ่งเป็นการช่วยสร้างความมั่นใจให้กับแพทย์และผู้ป่วยทุกท่านได้ว่า สิ่งที่ท่านได้รับเป็นกระดูกเทียมไทเทเนียมจากฝีมือคนไทยที่มีคุณภาพสูงในระดับสากล และเป็นทางเลือกในการรักษาสำหรับผู้ป่วยอย่างแท้จริง

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ :
บริษัท เมติคูลี่ จำกัด
Email : [email protected]
Facebook : meticuly
LinkedIn : meticuly
Line : @meticuly
โทรศัพท์ : 02 334 0539

Share This

Copy Link to Clipboard

Copy