อาการบาดเจ็บทางสมอง กับการฟื้นฟูรักษาโดยใช้กะโหลกเทียม

ฟื้นฟูรักษาโดยใช้กะโหลกเทียม

อาการบาดเจ็บทางสมอง กับการฟื้นฟูรักษาโดยใช้กะโหลกเทียม

เมื่อพูดถึงการเกิดอุบัติเหตุ แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากให้สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นกับตัวเอง คนใกล้ตัว หรือคนที่เรารัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการเกิดอุบัติเหตุนั้นเป็นการเกิดอุบัติเหตุจากการกระแทกหรือการได้รับการกระทบกระเทือนที่บริเวณศีรษะและสมองอย่างรุนแรง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ “ภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI)” จนนำไปสู่การทำให้เกิดความพิการทางด้านร่างกาย ที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ จิตใจ และสติสัมปชัญญะของผู้ป่วย หรืออาจจะรุนแรงไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ในท้ายที่สุด แต่อย่างไรก็ตามด้วยความก้าวหน้าของนวัตกรรมทางการแพทย์ในปัจจุบันนี้ส่งผลให้เราสามารถรักษาภาวะบาดเจ็บทางสมอง และช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นตัวจากการรักษาจนสามารถกลับมาดูแลและช่วยเหลือตัวเองได้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ด้วยนวัตกรรมการรักษาด้วย “กะโหลกเทียม” จากไทเทเนียมโดย Meticuly

ทำความรู้จักกับภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI)

ภาวะบาดเจ็บทางสมอง หรือ Traumatic Brain Injury (TBI) เป็นอาการบาดเจ็บที่กะโหลกศีรษะและสมองที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุโดยที่ทุกสาเหตุล้วนมีแรงกระทำจากภายนอกเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการบาดเจ็บแบบปิด (Non-penetrating TBI) ที่เกิดขึ้นการได้รับการกระแทกอย่างรุนแรงที่บริเวณศีรษะและลำตัวจากการหกล้ม อุบัติเหตุทางรถยนต์ อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา หรือการบาดเจ็บจากแรงระเบิด เป็นต้น ตลอดจนการบาดเจ็บแบบเปิด (Penetrating TBI) จากการถูกวัตถุ อย่างเช่น กระสุน เศษกระดูก หรือมีด เจาะเข้ามาที่บริเวณกะโหลกศีรษะและสมอง

แน่นอนว่าไม่ใช่การบาดเจ็บจากการกระแทกทั้งหมดจะนำไปสู่การเกิดภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI) ที่ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยกะโหลกเทียมไทเทเนียม แต่อย่างไรก็ตามเมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บจากแรงกระแทกโดยเฉพาะที่บริเวณศีรษะและสมอง สิ่งที่สำคัญคือการหมั่นเฝ้าดูอาการบาดเจ็บอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยให้สามารถนำผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงทีหากมีความผิดปกติทางร่างกายเกิดขึ้น เพราะในบางครั้งอาการบาดเจ็บที่สมองนั้นก็ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นทันทีหลังจากเกิดการบาดเจ็บ โดยบางรายอาจใช้ระยะเป็นชั่วโมง เป็นวัน หรืออาจยาวนานถึงเป็นสัปดาห์ก่อนที่อาการที่แสดงออกถึงการเกิดภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI) จะแสดงออกมา

สัญญาณของภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI)

โดยส่วนใหญ่สัญญาณเตือนที่จะแสดงให้เห็นถึงการเกิดภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI) ในระดับเริ่มต้น หรือในระดับที่รุนแรงจนถึงขั้นต้องผ่าตัดรักษาด้วยการใช้กะโหลกเทียมไทเทเนียม จะเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากทั้งทางกายภาพ พฤติกรรมการแสดงออก ตลอดจนการรับรู้และประสาทสัมผัสในด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • ทางกายภาพ โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่มีภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI) มักจะมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง มองเห็นภาพเบลอหรือภาพซ้อน รูม่านตาขยายไม่เท่ากัน คลื่นไส้อาเจียน ชักเกร็ง ตลอดจนเกิดอาการแขน ขา หรือใบหน้าอ่อนแรง
  • ทางพฤติกรรมการแสดงออก พฤติกรรมที่จะสามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนที่สุดเมื่อเกิดภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI) คือ การหมดสติ ไม่รู้สึกตัว ตั้งแต่เพียงแค่ไม่กี่วินาทีไปจนถึงหลายชั่วโมง ตลอดจนการเกิดความรู้สึกสับสน มึนงง มีปัญหาในการจดจำและการตัดสินใจ รวมไปถึงการมีพฤติกรรมการนอนหลับที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ทั้งการนอนมากขึ้น หรือนอนหลับได้ไม่ดีและไม่สนิทเท่าเดิม
  • ทางการรับรู้และประสาทสัมผัส เมื่อมีภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI) เกิดขึ้น ผู้ป่วยมักจะรับรู้ได้ถึงความผิดปกติของตัวเองในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่แปรปรวน ก้าวร้าว หรือวิตกกังวลใจมากขึ้น การมีเสียงดังก้องในหู ร่างกายมีความไวต่อเสียงและแสง ประสาทสัมผัสการรับรสไม่ดีเท่าเดิม ตลอดจนรู้สึกปวดศีรษะ วิงเวียน และเหนื่อยล้าอยู่ตลอดเวลา

ภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI) กับแนวทางการรักษาด้วยกะโหลกเทียม

ในการรักษาภาวะบาดเจ็บทางสมอง หรือ TBI แน่นอนว่าไม่ใช่ผู้ป่วยทุกรายที่จำเป็นจะต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยการใช้กะโหลกเทียมไทเทเนียม เพราะปัจจัยในเรื่องของความรุนแรงและตำแหน่งในการบาดเจ็บ ตลอดจนความสามารถในการฟื้นตัว หรือแม้กระทั่งอายุของผู้ป่วย ย่อมส่งผลต่อการประเมินแนวทางในการรักษาภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI) ที่จะมีความแตกต่างกันออกไปในผู้ป่วยแต่ละราย

  1. ภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI) ในระดับเล็กน้อย
    สำหรับผู้ป่วยที่ทางทีมแพทย์ได้ทำการวินิจฉัยว่ามีภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI) ในระดับเล็กน้อย ผู้ป่วยในระดับนี้จะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยการใช้กะโหลกเทียมไทเทเนียม เพราะอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการถูกกระทบกระเทือนหรือถูกกระแทกนั้นสามารถหายไปเองภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์จากการ “พักผ่อนสมอง” หรือที่เราเรียกกันว่า Brain Rest และการรับประทานยาแก้ปวด ยาสลายลิ่มเลือด หรือยาอื่น ๆ ตามที่แพทย์สั่ง ร่วมกับการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดแรงกระทบกระเทือนไปยังสมองและศีรษะเท่านั้นแต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าร่างกายของเราจะสามารถฟื้นตัวจากภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI) ในระดับเล็กน้อยได้เอง แต่ถ้าหากมีการบาดเจ็บในลักษณะนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งก็จะทำให้ความสามารถในการฟื้นตัวของร่างกายนั้นลดน้อยลงตามไปด้วย อีกทั้งการเข้ารับการรักษาภาวะบาดเจ็บทางสมอง หรือ TBI ยังจำเป็นที่จะจ้องได้รับการดูแลความคืบหน้าในการฟื้นตัวจากทางทีมแพทย์อย่างต่อเนื่อง ร่วมกับการเฝ้าระวังพฤติกรรมทางด้านร่างกายต่าง ๆ ที่อาจจะดูไม่เกี่ยวข้องกับอาการบาดเจ็บ อาทิ อารมณ์แปรปรวน หรือความรู้สึกหงุดหงิดที่มากกว่าปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อการประเมินและปรับเปลี่ยนแนวทางในการรักษาอย่างเหมาะสม
  2. ภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI) ในระดับรุนแรง
    สำหรับผู้ป่วยที่ประสบกับภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI) ในระดับรุนแรง แนวทางและรูปแบบในการรักษาภาวะดังกล่าวนั้นจะมีความแตกต่างไปจากการรักษาผู้ป่วยที่ประสบกับภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI) ในระดับเล็กน้อยอย่างชัดเจน เพื่อจุดมุ่งหมายสำคัญในการช่วยรักษาเสถียรภาพในการทำงานของหัวใจ ปอด ไขสันหลัง และอวัยวะที่สำคัญอื่น ๆ ภายในร่างกาย ตลอดจนการช่วยป้องกันไม่ให้สมองได้รับความเสียหายเพิ่มเติมจนส่งผลต่อความสามารถในการดูแลช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วย และการช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยให้น้อยลงที่สุดโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่มาเข้ารับการรักษาภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI) ในระดับรุนแรง มักจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะร่วมกับการรักษาในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อช่วยลดความดันภายในกะโหลกศีรษะ กำจัดลิ่มเลือดอุดตัน รวมถึงการนำเอากะโหลกศีรษะที่แตกออกมา ซึ่งจะเห็นได้ว่าในกรณีสุดท้ายที่ผู้ป่วยมีการสูญเสียกระดูกที่บริเวณกะโหลกศีรษะไปจากการเกิดอุบัติเหตุนี้ สิ่งที่จะเป็นผลตามมาคือผู้ป่วยจะไม่มีแผ่นกะโหลกศีรษะ ที่จะสามารถนำมาใช้สำหรับการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะได้อย่างพอดีเมื่ออาการสมองบวมหรืออาการบาดเจ็บทางสมองอื่น ๆ ดีขึ้น จนส่งผลต่อความสามารถในการฟื้นตัวของผู้ป่วยได้ ส่งผลให้ในปัจจุบันนี้ในวงการแพทย์และวิศวกรรมจึงได้มีการคิดค้น “กะโหลกเทียมไทเทเนียม” แบบเฉพาะบุคคลขึ้นมา เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มทางเลือกในการรักษาให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวกลับมาได้อย่างรวดเร็วมากที่สุด

กะโหลกเทียม เพื่อผู้ป่วยภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI) อย่างแท้จริง

วัสดุทดแทนกะโหลกศีรษะ หรือกะโหลกเทียมไทเทเนียม นับได้ว่าเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าที่สำคัญของ Meticuly ที่ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีทางการแพทย์และวิศวกรรมมาทำการรวบรวม ประยุกต์ พร้อมต่อยอดการเรียนรู้และการพัฒนากะโหลกเทียมไทเทเนียมขึ้นมาร่วมกัน เพื่อเป้าหมายสำคัญในการช่วยฟื้นคืนคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วยที่มาเข้ารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อรักษาภาวะบาดเจ็บทางสมอง (TBI) ในระดับรุนแรงอย่างแท้จริง ด้วยแผ่นกะโหลกเทียมไทเทเนียม ที่ถูกออกแบบและผลิตขึ้นมาเพื่อให้มีขนาดและรูปร่างที่สามารถนำมาปิดลงบนช่องว่างที่บริเวณกะโหลกศีรษะของผู้ป่วยแต่ละคนที่จะมีความเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไปโดยเฉพาะ

โดยหนึ่งในข้อดีที่สำคัญของการเลือกใช้งานกะโหลกเทียมไทเทเนียมของ Meticuly ไม่ได้มีเพียงแค่การช่วยทำให้ผู้ป่วยที่ต้องสูญเสียชิ้นส่วนของกะโหลกศีรษะไปจากการบาดเจ็บและอุบัติเหตุสามารถเข้ารับการผ่าตัดรักษาเพื่อปิดกะโหลกศีรษะได้ด้วยวัสดุที่มีความเฉพาะตัว และมีความคล้ายคลึงกับกะโหลกศีรษะของจริงมากที่สุดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่การเลือกใช้งานกะโหลกเทียมไทเทเนียมของ Meticuly ยังช่วยทำให้ทีมแพทย์สามารถทำการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะให้กับผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว จนทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเสียเลือดหรือเกิดการติดเชื้อที่น้อยกว่าการเลือกผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะด้วยวัสดุอื่น ๆ ซึ่งจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนสามารถกลับมาดูแลช่วยเหลือตัวเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด

Meticuly คือ บริษัทผู้ผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียม และกะโหลกเทียมไทเทเนียมรายแรกของประเทศไทย ที่เป็นเจ้าของการออกแบบและกระบวนการผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO และ USFDA ซึ่งเป็นการช่วยสร้างความมั่นใจให้กับแพทย์และผู้ป่วยทุกท่านได้ว่า สิ่งที่ท่านได้รับเป็นกระดูกเทียมไทเทเนียมจากฝีมือคนไทยที่มีคุณภาพสูงสุดในระดับสากล และเป็นทางเลือกในการรักษาที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะอย่างแท้จริง

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ :
บริษัท เมติคูลี่ จำกัด
Email : [email protected]
Facebook : meticuly
LinkedIn : meticuly
Line : @meticuly
โทรศัพท์ : 02 334 0539

Share This

Copy Link to Clipboard

Copy