การป้องกันการบาดเจ็บของดวงตาและกระดูกเบ้าตา สำหรับผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุกระดูกเบ้าตาแตก

กระดูกเบ้าตาแตก

แผ่นรองเบ้าตาไทเทเนียม อีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาสำหรับผู้ป่วยกระดูกเบ้าตาแตก

บนท้องถนนอันแสนวุ่นวายของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ รถจักรยานยนต์ยังคงเป็นพาหนะที่คนไทยส่วนใหญ่ให้ความนิยมและเลือกใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุผลในด้านของการช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง เข้าถึงทุกตรอกซอกซอย หาที่จอดง่าย และมีราคาที่สามารถเข้าถึงได้ แต่อย่างไรก็ตาม ความสะดวกสบายที่ได้มาจากการใช้งานรถจักรยานยนต์นั้นก็ต้องแลกมากับความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่สามารถทำให้เกิดภาวะกระดูกเบ้าตาแตก กะโหลกศีรษะและกระดูกในบริเวณอื่น ๆ เกิดความเสียหายจนต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยกระดูกเทียมไทเทเนียม ตลอดจนการเสียชีวิตบนท้องถนนที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน

อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกเบ้าตาแตก หรือที่เรียกว่า Orbital Blow-out Fracture

บ่อยครั้งที่แรงกระแทกที่เกิดขึ้นจากการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่ว่าจะด้วยอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการขับขี่รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ ตลอดจนการใช้ความรุนแรงระหว่างบุคคล การหกล้ม การกระแทก และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการเล่นกีฬาที่เกี่ยวข้องกับลูกบอลที่มีความเร็วสูง อาทิ เบสบอล ซอฟต์บอล บาสเกตบอล หรือรักบี้ เป็นต้น ได้ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและผลกระทบอย่างรุนแรงที่บริเวณเบ้าตาและบริเวณโดยรอบเบ้าตา จนกลายมาเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะกระดูกเบ้าตาแตก (Orbital Blow-out Fracture) ที่ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วยการนำกระดูกเทียมไทเทเนียมมาใช้เป็นวัสดุทดแทนกระดูกเบ้าตาแตก เพื่อเป้าหมายในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ร่วมกับการช่วยรักษารูปทรงของใบหน้าให้มีความสวยงามดังเดิม

ภาวะกระดูกเบ้าตาแตก หรือ Orbital Blow-out Fracture คืออะไร

ภาวะกระดูกเบ้าตาแตก หรือ Orbital Blow-out Fracture เป็นรูปแบบในการบาดเจ็บเกี่ยวกับดวงตาประเภทหนึ่งที่สามารถพบเจอได้บ่อยมากที่สุด โดยสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะกระดูกเบ้าตาแตกเกิดขึ้นจากการได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรงที่บริเวณกะโหลกศีรษะและใบหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณดวงตา บริเวณเบ้าตา และบริเวณโดยรอบเบ้าตา จนส่งผลทำให้กระดูกโดยรอบบริเวณและกระดูกเบ้าตาแตกหักเสียหาย อีกทั้งยังอาจทำให้สมองได้รับการกระทบกระเทือนตามไปด้วย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยที่ประสบกับภาวะกระดูกเบ้าตาแตกจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาตามอาการโดยเร็วที่สุด ร่วมกับการติดตามอาการต่อเนื่องเพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณโดยรอบเบ้าตาเกิดความเสียหายและตายลงจนเป็นสาเหตุของการสูญเสียความสามารถในการมองเห็น

ภาวะกระดูกเบ้าตาแตก แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

การจำแนกประเภทของภาวะกระดูกเบ้าตาแตก หรือ Orbital Blow-out Fracture ถือเป็นส่วนสำคัญในการทำความเข้าใจกับความซับซ้อนของการบาดเจ็บเพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำและการวางแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพ โดยภาวะกระดูกเบ้าตาแตกสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

  1. Inferior blow-out fracture เป็นภาวะกระดูกเบ้าตาแตกที่สามารถพบเจอได้บ่อยมากที่สุด โดยการแตกหักในลักษณะดังกล่าวจะสามารถสังเกตได้จากการที่ Orbital fat หรือ ไขมันตาย้อยเข้าไปที่บริเวณโพรงอากาศในกระดูกโหนกแก้ม (Maxillary sinus) และขากรรไกร จากการย้อยของกล้ามเนื้อ Inferior rectus (IR)
  2. Medial blow-out fracture เป็นภาวะกระดูกเบ้าตาแตกที่สามารถพบเจอได้รองลงมา ซึ่งภาวะกระดูกเบ้าตาแตกดังกล่าวจะเกิดขึ้นที่บริเวณกระดูกส่วนลามินา พาพีราซี (Lamina Papyracea) จนเป็นผลทำให้ไขมันตาและกล้ามเนื้อ Medial rectus (MR) เกิดการย้อยเข้าไปที่เซลล์อากาศเอทมอยด์
  3. Superior blow-out fracture เป็นภาวะกระดูกเบ้าตาแตกที่พบเจอได้น้อยกว่าภาวะกระดูกเบ้าตาแตกประเภทอื่น ๆ โดยการแตกหักเสียหายมักเกี่ยวข้องกับไซนัส, anterior cranial fossa (พบน้อย) หรือทั้งไซนัสและ anterior cranial fossa และอาจนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของน้ำไขสันหลังและภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้
  4. Lateral blow-out fracture เป็นอีกรูปแบบของภาวะกระดูกเบ้าตาแตกที่สามารถพบเจอได้น้อยมาก ๆ เนื่องจากกระดูกในบริเวณดังกล่าวมีความหนาและถูกล้อมรอบด้วยกล้ามเนื้อ โดยส่วนใหญ่แล้วภาวะกระดูกเบ้าตาแตกในลักษณะดังกล่าวมักจะมีความเกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บของกะโหลกศีรษะ

อาการภาวะกระดูกเบ้าตาแตก มักพบร่วมกับ Blow-out fracture

  • Diplopia 
  • Strabismus
  • Pain on extraocular movement
  • Enophthalmos 
  • Infraorbital hypoesthesia
  • Nausea and vomiting  มักพบได้ใน  trapdoor fracture โดยเฉพาะในเด็ก

การตรวจหาอาการภาวะกระดูกเบ้าตาแตก

การตรวจและวินิจฉัยภาวะกระดูกเบ้าตาแตกอย่างทันท่วงที ถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพิ่มเติมที่อาจเกิดขึ้นจนส่งผลทำให้ผู้ป่วยภาวะกระดูกเบ้าตาแตกสูญเสียการมองเห็น โดยผู้ป่วยที่ได้ประสบอุบัติเหตุหรือได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรงที่บริเวณเบ้าตาและบริเวณโดยรอบเบ้าตาควรได้รับการตรวจทางจักษุวิทยา หรือ Complete Ophthalmologic  Examination เพื่อการประเมินอาการบาดเจ็บอย่างครอบคลุม ร่วมกับการเอกซเรย์ทางคอมพิวเตอร์ (Computed Tomography (CT) Scan เพื่อช่วยให้ทีมแพทย์สามารถวางแผนการรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยในกรณีที่ทางทีมแพทย์พบว่าผู้ป่วยภาวะกระดูกเบ้าตาแตกมีกล้ามเนื้อถูกหนีบรัด (Muscle Entrapment) อย่างชัดเจน ทางทีมแพทย์จะมีการพิจารณาให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดรักษาภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อและกล้ามได้รับเลือดหล่อเลี้ยงในปริมาณที่น้อยกว่าปกติจนเสี่ยงต่อการทำให้เนื้อเยื่อตายได้ แต่สำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการอื่น ๆ อาทิ Symptomatic Diplopia ภายนอกช่วง 30 degree ของ primary gaze ตลอดจนขนาดของกระดูกเบ้าตาแตกมีขนาดปานกลาง ทางทีมแพทย์จะมีการพิจารณารักษาตามอาการร่วมกับการติดตามอาการก่อนการพิจารณาผ่าตัดอีกครั้งภายในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์

การป้องกันการบาดเจ็บของดวงตาและกระดูกเบ้าตาจากภาวะกระดูกเบ้าตาแตก

ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในปัจจุบันนี้ ส่งผลให้การรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตกสามารถเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย Orbital Implant หลายชนิดทั้ง Autogenous Implant หรือ กระดูกที่ได้จากตัวผู้ป่วยภาวะกระดูกเบ้าตาแตกเอง ซึ่งจะมีผลข้างเคียงน้อยและมีความเข้ากันได้ดีกับร่างกายของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ Alloplastic Implant ซึ่งเป็นวัสดุทดแทนกระดูกหรือกระดูกเทียมไทเทเนียมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อการช่วยแก้ไขข้อจำกัดของการใช้งานกระดูกจริง ๆ ที่อาจไม่สามารถทดแทนกระดูกเบ้าตาแตกชิ้นเดิมที่เสียหายไปได้อย่างพอดี

กระดูกเบ้าตาแตก

โดยหนึ่งในวัสดุทดแทนกระดูกที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ในกระบวนการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยภาวะกระดูกเบ้าตาแตกในปัจจุบันนี้ คือ แผ่นรองเบ้าตาไทเทเนียมจาก Meticuly บริษัทกระดูกเทียมไทเทเนียมรายแรกของประเทศไทยที่ได้มีการนำเอาเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) เข้ามาใช้งานเพื่อการช่วยตรวจวินิจฉัยและวิเคราะห์ผล CT-scan ของผู้ป่วยที่ประสบกับภาวะกระดูกเบ้าตาแตก เพื่อเป้าหมายในการออกแบบและผลิตแผ่นรองเบ้าตาไทเทเนียมเฉพาะบุคคลโดยการอ้างอิงรูปแบบมาจากกระดูกเบ้าตาข้างที่ปกติ ที่จะสามารถช่วยเสริมระดับลูกตาของผู้ป่วยให้กลับมาใกล้เคียงกันได้มากที่สุด อีกทั้งยังสามารถช่วยทำให้แผ่นรองเบ้าตาไทเทเนียมมีขนาด รูปลักษณ์ และผิวสัมผัสที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยภาวะกระดูกเบ้าตาแตกแต่ละคนได้อย่างดีที่สุดอีกด้วย

นอกจากนี้ การเลือกใช้งานแผ่นรองเบ้าตาไทเทเนียมในการผ่าตัดรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตกยังช่วยให้ทีมแพทย์สามารถวางแผนการรักษาและการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพได้ภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว ซึ่งจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการที่ผู้ป่วยที่ประสบกับภาวะกระดูกเบ้าตาแตกจะสูญเสียการมองเห็น อีกทั้งยังเป็นการช่วยให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างราบรื่นและช่วยลดปริมาณของเลือดที่ผู้ป่วยจะต้องสูญเสียไปในระหว่างการผ่าตัดลง ซึ่งจะส่งผลต่อการช่วยให้ผู้ป่วยกระดูกเบ้าตาแตกสามารถฟื้นตัวหลังจากการผ่าตัดและกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
 
Meticuly คือ บริษัทผู้ผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียมรายแรกของประเทศไทย ที่เป็นเจ้าของการออกแบบและกระบวนการผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียม ตลอดจนแผ่นรองเบ้าตาไทเทเนียมสำหรับผู้ที่ประสบกับภาวะกระดูกเบ้าตาแตก ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO และ USFDA ซึ่งเป็นการช่วยสร้างความมั่นใจให้กับแพทย์และผู้ป่วยทุกท่านได้ว่า สิ่งที่ท่านได้รับเป็นกระดูกเทียมไทเทเนียมจากฝีมือคนไทยที่มีคุณภาพสูงสุดในระดับสากล และเป็นทางเลือกในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยอย่างแท้จริง

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ :
บริษัท เมติคูลี่ จำกัด
Email : [email protected]
Facebook : meticuly
LinkedIn : meticuly
Line : @meticuly
โทรศัพท์ : 02 334 0539

Share This

Copy Link to Clipboard

Copy