โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) กับการผ่าตัดสมองปิดกะโหลกด้วยกระโหลกเทียมไทเทเนียม

กระโหลกเทียมไทเทเนียม ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ประสบอุบัติเหตุอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดการแตกหัก เกิดความเสียหายของกะโหลกศีรษะ หรือการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง เช่น เนื้องอกในสมอง หรือโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง (Stroke) จนต้องเข้ารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อทำการรักษาและเพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียกะโหลกศีรษะบางส่วนไป ส่งผลให้ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถฟื้นตัวและกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ วันนี้ Meticuly จึงอยากจะขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke และแนวทางในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เคยเข้ารับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ แล้วเลือกใช้กะโหลกเทียมไทเทเนียมจาก Meticuly ในการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ

ทำความรู้จักกับโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นโรคที่เกิดจากการที่สมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงแบบเฉียบพลัน โดยมีสาเหตุมาจากการที่หลอดเลือดในสมองเกิดการแตก ตีบ หรืออุดตัน จนทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนส่งผ่านออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงสมองได้ตามปกติ ส่งผลให้เซลล์สมองและเนื้อเยื่อสมองถูกทำลาย ทำให้การทำงานของสมองบางส่วน หรือทั้งหมดเกิดความผิดปกติ จนร่างกายเริ่มแสดงอาการผิดปกติออกมา เช่น แขน ขา ใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งเกิดอาการชาหรืออ่อนแรง ตามัว เห็นภาพไม่ชัด หรือเห็นภาพซ้อนแบบเฉียบพลัน มีอาการมึนงง พูดไม่ชัด สื่อสารไม่เข้าใจ มีการทรงตัวที่ผิดปกติ หรือมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ เป็นต้น

แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

แม้ว่าข้อมูลจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (National Institute for Emergency Medicine) จะระบุว่า โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นสาเหตุการตายอันดับที่สองของคนไทย รองลงมาจากโรคมะเร็ง (อ้างอิง : https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2022/EBook/414764_20220208161448.pdf) แต่ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ก็สามารถช่วยให้ทีมแพทย์ทำการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้หายเป็นปกติได้โดยผู้ป่วยไม่เกิดอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตหรือพิการ หากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาภายในเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงหลังจากพบอาการของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการทางโรคหลอดเลือดสมองที่รุนแรงจนต้องทำการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันสามารถช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วมากขึ้น ทำให้การผ่าตัดปิดกะโหลกหลังจากที่สมองของผู้ป่วยหายบวม ไม่ว่าจะด้วยการใช้กะโหลกศีรษะเดิมที่แช่แข็งเก็บไว้ หรือการใช้กะโหลกเทียมไทเทเนียม เป็นไปได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สำหรับแนวทางในการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke นั้น ทีมแพทย์จะเป็นผู้เลือกวิธีการรักษาให้มีความเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย ซึ่งจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 วิธี ดังนี้ 

• การใช้ยา เป็นวิธีการรักษาที่ให้ผลดีกับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาภายในเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงหลังจากพบอาการของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) โดยผู้ป่วยจะได้รับยาสลายลิ่มเลือดในทันที เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเกิดการพิการและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับยาแอสไพรินภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากพบอาการ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตและการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ

• การขยายหลอดเลือด เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาโรคหลอดเลือดสมองที่ทีมแพทย์นิยมนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาช้าเกินกว่า 4.5 ชั่วโมงหลังจากพบอาการ และเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดได้ โดยในการรักษาทีมแพทย์จะใช้อุปกรณ์ถ่างขยายที่ทำจากขดลวด (Stent) หรือใช้บอลลูนในการถ่างขยายหลอดเลือดแดงคาโรติด ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ในการส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงยังบริเวณศีรษะ คอ และสมอง ที่เกิดการตีบหรืออุดตันฉับพลัน เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้หลอดเลือดเกิดการตีบซ้ำ

• การผ่าตัด สำหรับการผ่าตัดรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) จะสามารถแบ่งแยกย่อยลงมาได้อีก 2 รูปแบบ คือ การผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimal Invasive) โดยการใส่สายสวนเข้าที่บริเวณขาหนีบเพื่อเปิดหลอดเลือดสมองที่อุดตันและช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้อย่างทันท่วงที และอีกวิธีคือการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ (Craniectomy) ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ป่วยมีก้อนเลือดขนาดใหญ่อยู่ใต้กะโหลกศีรษะ มีความดันสมองสูง หรือมีอาการสมองบวมอย่างรุนแรง

ความจำเป็นของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับการเข้ารับการผ่าตัดเปิดกะโหลก

สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าจำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ ทีมแพทย์จะทำการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะของผู้ป่วยด้วยเทคนิค Craniectomy หรือ การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะโดยที่ไม่ได้มีการปิดกะโหลกศีรษะกลับเข้าไปเพื่อช่วยให้สมองที่บวมมีพื้นที่สำหรับการขยายตัวได้อย่างเต็มที่และช่วยลดความดันที่เกิดขึ้นภายในกะโหลกศีรษะ

หลังจากที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจนสมองของผู้ป่วยมีอาการบวมลดลงและไม่มีการติดเชื้อหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆแล้ว ทีมแพทย์ก็จะทำการพิจารณาผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะที่มีรอยบุ๋มลงไป หรือที่เรียกกันว่าเทคนิค Cranioplasty ภายในระยะเวลา 1-6 เดือน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยว่าจะพร้อมเข้ารับการผ่าตัดในช่วงเวลาใด เพื่อช่วยทำให้เลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้มากยิ่งขึ้นและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้น

กะโหลกเทียมไทเทเนียมจาก Meticuly ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

หลังจากที่ทางทีมแพทย์ได้พิจารณาแล้วว่าร่างกายของผู้ป่วยมีความพร้อมที่จะเข้ารับการผ่าตัดปิดกะโหลก เพื่อซ่อมแซมกะโหลกศีรษะบางส่วนที่สูญเสียไปในระหว่างทำการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) โดยในปัจจุบัน ทางเลือกในการผ่าตัดปิดกะโหลกนั้นมีอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้กะโหลกศีรษะเดิมที่ได้ทำการแช่แข็งเก็บไว้ การใช้กระดูกจากตำแหน่งอื่น เช่น กระดูกซี่โครง การใช้กะโหลกเทียมที่ทำจากอะคริลิค ตลอดจนการใช้งานกะโหลกเทียมไทเทเนียม ซึ่งเป็นกะโหลกเทียมที่สามารถออกแบบและผลิตขึ้นมาเฉพาะบุคคล

ในการออกแบบและผลิตกะโหลกเทียมไทเทเนียมขึ้นมานั้น ทาง Meticuly จะนำภาพ CT scan ของผู้ป่วยมาใช้งานร่วมกับเทคโนโลยี AI เพื่อช่วยให้การออกแบบกระดูกเทียมไทเท เนียมแต่ละชิ้นมีรูปร่างและขนาดที่เหมาะสมกับกะโหลกศีรษะของผู้ป่วย ซึ่งมีความซับซ้อนและมีความเฉพาะของแต่ละบุคคล เพื่อประโยชน์ในการช่วยให้กะโหลกเทียมไทเทเนียมที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่สามารถปิดพื้นที่หรือช่องโหว่ของกะโหลกศีรษะเดิมได้อย่างพอดี และช่วยให้ทีมแพทย์สามารถทำการผ่าตัดปิดกะโหลกได้สำเร็จภายในระยะเวลาที่สั้นลง

ซึ่งระยะเวลาในการผ่าตัดปิดกะโหลกที่ลดลง จะส่งผลให้ผู้ป่วยเสียเลือดในระหว่างการผ่าตัดน้อยลง ทำให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการใช้กะโหลกเทียมไทเทเนียมจาก Meticuly ยังช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อ ลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลให้ต้องเกิดการผ่าตัดซ้ำ

นอกจากนี้อีกหนึ่งข้อดีที่สำคัญของการเลือกใช้กะโหลกเทียมไทเทเนียมนั้น คือในระหว่างการผ่าตัดปิดกะโหลกเพื่อยึดกะโหลกเทียมไทเทเนียมเข้ากับกะโหลกศีรษะที่เหลืออยู่บริเวณข้างเคียงนั้น ทีมแพทย์จะใช้สกรูแบบ Low Profile หรือสกรูหัวต่ำเป็นตัวเชื่อมต่อ เพื่อช่วยทำให้พื้นผิวของกะโหลกเทียมมีระนาบที่เสมอกันกับกะโหลกศีรษะ ส่งผลให้กะโหลกเทียมมีความคล้ายคลึงกับกะโหลกศีรษะของจริง

Meticuly คือ บริษัทผู้ผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียม และกะโหลกเทียมไทเทเนียมรายแรกของประเทศไทย ที่เป็นเจ้าของการออกแบบและกระบวนการผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO และ USFDA ซึ่งเป็นการช่วยสร้างความมั่นใจให้กับแพทย์และผู้ป่วยทุกท่านได้ว่า สิ่งที่ท่านได้รับเป็นกระดูกเทียมไทเทเนียมจากฝีมือคนไทยที่มีคุณภาพในระดับสากล และเป็นทางเลือกในการรักษาสำหรับผู้ป่วย

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ :
บริษัท เมติคูลี่ จำกัด
Email : [email protected]
Facebook : meticuly
LinkedIn : meticuly
Line : @meticuly
โทรศัพท์ : 02 334 0539

Share This

Copy Link to Clipboard

Copy