กะโหลกศีรษะเทียม มีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไรบ้าง

กะโหลกศีรษะเทียม มีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไรบ้าง

เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของกะโหลกศีรษะเทียมแต่ละวัสดุต่างกันอย่างไร

ปัจจุบันประเทศไทยมีอุบัติเหตุจราจรมากกว่า 2,000 รายต่อวัน และอัตราการเสียชีวิตมากกว่า 15,000 รายต่อปี โดยส่วนมากเป็นการบาดเจ็บที่ศีรษะ มีเลือดออกในสมอง จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดกะโหลกศีรษะ

การผ่าตัดกะโหลกศีรษะเทียมที่พบได้บ่อย คือ การผ่าตัดนำเลือดในสมองออกร่วมกับเปิดกะโหลกศีรษะไว้เพื่อลดแรงดันในสมอง หากแต่เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดอาการคงที่ ไม่มีภาวะสมองบวม ในบางกรณีอาจส่งผลให้บริเวณศีรษะด้านที่ผ่าตัดยุบตัวผิดรูป ทำให้มีผลต่อความสวยงามของศีรษะและสภาพจิตใจของผู้ป่วย บางกรณีทำให้การไหลเวียนน้ำไขสันหลังผิดปกติ ดังนั้นการปิดกะโหลกศีรษะเทียมจึงมีความจำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยการปิดกะโหลกศีรษะมีทางเลือกหลายวิธี ทั้งใช้กะโหลกศีรษะเดิม ขึ้นรูปกะโหลกศีรษะเทียมด้วยมือ หรือใช้คอมพิวเตอร์ขึ้นรูปสามมิติ โดยวิธีที่นิยมในปัจจุบันมีดังนี้

  1. กะโหลกศีรษะเดิม กะโหลกศีรษะเดิมของผู้ป่วย
    โดยหลังจากแพทย์ทำการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะแล้ว จำเป็นต้องเก็บกะโหลกศีรษะที่ผ่าตัดอย่างถูกวิธี เช่น เก็บไว้ในช่องท้องของผู้ป่วย หรือเก็บในตู้เย็นควบคุมอุณหภูมิ

    • ข้อดี ของการใช้กะโหลกศีรษะเดิมของผู้ป่วยคือประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากใช้กระดูกของผู้ป่วยเอง
    • ข้อเสีย หากเก็บไม่ถูกวิธีอาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ อีกทั้งอาจมีร่องบริเวณที่ปิดกะโหลกเนื่องจากกระดูกมีการสลายตัวบางส่วน ทำให้หลังผ่าตัดอาจะเห็นผิวหนังยุบตัวตามแนวที่ตัดกะโหลกได้
  2. กะโหลกศีรษะเทียม โดยเครื่องพิมพ์สามมิติ จากวัสดุอะคริลิก PMMA
    หล่อกะโหลกศีรษะใหม่โดยใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ จากวัสดุอะคริลิก PMMA (Polymethyl methacrylate) การปิดกะโหลกวิธีนี้ใช้วัสดุเดียวกับการปั้นกะโหลกด้วยมือ แต่ก่อนที่จะได้รับการผ่าตัดนั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องทำการ X-Ray ผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อนำภาพที่ได้ไปขึ้นรูปสามมิติ และตัดวัสดุออกมาให้รูปทรงเหมือนกะโหลกศีรษะด้านตรงข้ามที่ทำการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ

    • ข้อดี หลังผ่าตัดกะโหลกนั้นจะได้รูปทรงที่สวยกว่าเนื่องจากการพิมพ์วัสดุสามมิติที่ออกมานั้นจะจำเพาะกับผู้ป่วยเป็นรายบุลคล
    • ข้อเสีย คือราคานั้นจะสูงกว่าแบบปั้นมือ และมีความเสี่ยงติดเชื้อได้
  3. กะโหลกศีรษะเทียม โดยเครื่องพิมพ์สามมิติ จากวัสดุ PCL
    หล่อกะโหลกเทียมใหม่โดยใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ จากวัสดุ PCL (Polycaprolactone) โดยวัสดุ Polycaprolactone ทำจากเทอร์โมพลาสติกซึ่งมีคุณสมบัติกระตุ้นให้เกิดการสร้างกระดูกขึ้นมาใหม่ และสามารถสลายตัวเองได้โดยธรรมชาติ

    • ข้อดี วัสดุ Polycaprolactone กระตุ้นให้เกิดการสร้างกระดูกใหม่ ทำให้ผู้ป่วยนั้นมีกะโหลกที่เกิดจากกระดูกของตนเอง และสามารถสลายตัวเองโดยธรรมชาติภายในระยะเวลา 1-2 ปี
    • ข้อเสีย ราคาของวัสดุนั้นสูงมาก และผู้ป่วยจำเป็นต้องเจาะไขสันหลังเพื่อนำไขกระดูกมาวางบน Polycaprolactone เพื่อกระตุ้นการสร้างกระดูก
  4. กะโหลกศีรษะเทียม เครื่องพิมพ์สามมิติ จากวัสดุไทเทเนียม
    หล่อกะโหลกเทียมใหม่โดยใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ จากวัสดุไทเทเนียม โดยกะโหลกเทียมนี้จะออกแบบเฉพาะบุคคล อีกทั้งยังมีงานวิจัยหลายฉบับสรุปว่า วัสดุไทเทเนียมมีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่าวัสดุชนิดอื่น ๆ เนื่องจากวัสดุไทเทเนียมลดการเกิดไบโอฟิล์ม ชั้นบาง ๆ บนพื้นผิววัสดุที่เกิดจากการรวมตัวกันของจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการติดเชื้อ จะคล้ายกับการปิดกะโหลกศีรษะใหม่โดยใช้เครื่องพิมพ์สามมิติจากวัสดุอะคริลิก PMMA

    • ข้อดี หลังผ่าตัดกะโหลกนั้นจะได้รูปทรงสวย ตรงตามสรีระศีรษะของผู่ป่วย และแข็งแรงกว่าวัสดุอื่น ๆ
    • ข้อเสีย วัสดุจากไทเทเนียม มีราคาสูงกว่าวัสดุอะคริลิก PMMA แต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้มีทางเลือกในการปิดกะโหลกศีรษะได้หลากหลายวิธี โดยผู้ป่วยนั้นสามารถเลือกปิดกะโหลกศีรษะของตนเองได้ตามความชอบและงบประมาณของผู้ป่วย และหากในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุจราจร ซึ่งเป็นฝ่ายผู้กระทำถูก ผู้ป่วยสามารถเบิกเงินจาก พ.ร.บ.รถยนต์ หลังจากเกิดอุบัติเหตุได้สูงสุดถึง 250,000* บาท

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ :
บริษัท เมติคูลี่ จำกัด
Email : [email protected]
Facebook : meticuly
LinkedIn : meticuly
Line : @meticuly
โทรศัพท์ : 02 334 0539

Share This

Copy Link to Clipboard

Copy