ภาวะกระดูกเบ้าตาแตก กับเทคโนโลยีในการรักษา

ภาวะกระดูกเบ้าตาแตก

แผ่นรองเบ้าตาไทเทเนียมกับการรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตก

ภาวะกระดูกเบ้าตาแตก (Orbital Fracture) หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า Orbital Blowout Fracture เป็นหนึ่งในอาการบาดเจ็บอย่างรุนแรงที่สามารถพบเจอได้ทั่วไปในผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุ อย่างเช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ หรืออุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา ที่ส่งผลทำให้ผู้ป่วยได้รับการกระแทกอย่างรุนแรงที่บริเวณกะโหลกศีรษะและใบหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณเบ้าตาและบริเวณโดยรอบเบ้าตา จนทำให้กระดูกเบ้าตาและกระดูกอื่น ๆ ที่บริเวณดังกล่าวเกิดการแตกหักเสียหาย หรือในบางรายอาจได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บถึงขั้นที่ทำให้ลูกตาแตก ซึ่งอาจส่งผลกระทบที่ร้ายแรงจนทำให้ผู้ป่วยเกิดการสูญเสียการมองเห็นได้เลยทีเดียว

เพราะฉะนั้นแล้ววิธีการที่ดีที่สุดที่จะสามารถช่วยรักษาและเยียวยาอาการบาดเจ็บจากการประสบกับอุบัติเหตุที่ส่งผลทำให้กระดูกเบ้าตาแตก เพื่อเป็นการช่วยป้องกันการสูญเสียและการช่วยรักษากล้ามเนื้อ กระดูก รวมถึงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่มีความสำคัญเกี่ยวกับดวงตาเอาไว้ ให้ผู้ป่วยยังมีความสามารถในการมองเห็นได้ คือ การที่ผู้ประสบกับภาวะกระดูกเบ้าตาแตกจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อประเมินความรุนแรงของอาการบาดเจ็บที่เกิดจากภาวะกระดูกเบ้าตาแตก และเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตกด้วยวิธีการที่เหมาะสมอย่างรวดเร็วที่สุดหลังจากวันที่ประสบอุบัติเหตุ เพื่อเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาของการมีแผลหรือพังผืดที่บริเวณเนื้อเยื่อของลูกตาที่อาจจะทำให้เกิดการดึงรั้งระหว่างเนื้อเยื่อภายในเบ้าตาและกระดูกเบ้าตาที่แตกจนทำให้ทีมแพทย์ทำการผ่าตัดรักษาได้ยากมากขึ้น รวมไปถึงยังเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยที่ประสบกับภาวะเบ้าตาแตกต้องประสบกับปัญหาจากการที่ขั้วประสาทตาถูกทำลายจนทำให้ลูกตาเกิดการหวำลึกในระยะยาวจนส่งผลต่อความสามารถในการกลอกตา และอาจทำให้ผู้ป่วยต้องประสบปัญหาในการมองเห็นภาพสิ่งของต่าง ๆ เป็นภาพซ้อนทับแบบถาวรได้

การประเมินอาการของผู้ป่วยก่อนการเข้ารับการผ่าตัดรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตก

ภาวะกระดูกเบ้าตาแตกเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อบริเวณเบ้าตาและบริเวณโดยรอบเบ้าตา ซึ่งจะสังเกตได้ว่าผู้ป่วยที่มีอาการกระดูกเบ้าตาแตกส่วนใหญ่จะมักจะมีอาการชาที่แก้ม เปลือกตามบวมช้ำ ระดับลูกตาสองข้างไม่เท่ากัน เห็นภาพซ้อน รวมถึงไม่สามารถกลอกตาไปมาได้จนสุดเนื่องจากกล้ามเนื้อและกระดูกที่บริเวณดังกล่าว เกิดความเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวนี้ก็อาจจะไม่ปรากฏในผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกเบ้าตาแตกได้เช่นกัน

เพราะฉะนั้นแล้วเพื่อให้การวินิจฉัยโรคเป็นไปได้อย่างถูกต้องเพื่อการเข้าสู่กระบวนการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้ป่วยจึงจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยภาวะกระดูกเบ้าตาแตกอย่างละเอียดด้วยวิธีการเอกซเรย์ทางคอมพิวเตอร์ (Computed Tomography (CT) Scan) เพื่อให้ทีมแพทย์สามารถทราบได้ว่าอาการบาดเจ็บจากภาวะกระดูกเบ้าตาแตกเกิดขึ้นที่บริเวณไหนของศีรษะและใบหน้า และร่องรอยของการบาดเจ็บมีขนาดใหญ่มากน้อยเท่าไหร่ เพื่อที่ทางทีมแพทย์จะได้สามารถทำการประเมินอาการของผู้ป่วยและอธิบายถึงขั้นตอนในการรักษาได้ว่า ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาตามอาการและติดตามอาการต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ก่อนการเข้ารับการผ่าตัดภายในระยะเวลา 1-2 อาทิตย์หลังจากที่บาดแผลอื่น ๆ เริ่มหายดีและอาการบวมเริ่มลดลงแล้ว หรือผู้ป่วยควรจะต้องเข้ารับการผ่าตัดทันทีภายในระยะเวลาไม่เกิน 48 ชั่วโมง เพื่อการช่วยแก้ไขปัญหาภาวะกล้ามเนื้อถูกหนีบรัด (Muscle Entrapment) ซึ่งเป็นภาวะทั่วไปที่สามารถพบเจอได้หลังจากการประสบอุบัติเหตุ ที่อาจส่งผลให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ บริเวณโดยรอบเบ้าตาตายลงจนทำให้ผู้ป่วยอาจเกิดการสูญเสียความสามารถในการมองเห็นได้

เทคโนโลยีกระดูกเทียมไทเทเนียมกับการรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตก

อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่าวิธีการที่ดีที่สุดที่จะสามารถช่วยในการรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตกในผู้ป่วย เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมามองเห็นหรือใช้งานดวงตาทั้งสอง 2 ข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิมอีกครั้ง คือ การที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษา กระดูกบริเวณเบ้าตาที่แตกหักเสียหายไปจากการประสบอุบัติเหตุ แต่อย่างไรก็ตามกระดูกของมนุษย์ถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อทำการทดแทนกระดูกชิ้นเดิมที่เกิดการแตกหักหรือเสียหายไปจากการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูก อย่างเช่น มะเร็งกระดูก หรือเนื้องอกกระดูก รวมไปถึงการประสบอุบัติเหตุที่รุนแรงได้ ส่งผลให้ในการรักษาอาการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกระดูก ทีมแพทย์ผู้รักษาจึงจำเป็นที่จะต้องนำเอากระดูกชิ้นอื่น ๆ ภายในร่างกายของผู้ป่วย มาใช้ในการทดแทนกระดูกดังกล่าวที่แตกหักเสียหายไป

ซึ่งแน่นอนว่าการเลือกใช้กระดูกจากบริเวณอื่น ๆ อาจยังไม่ใช่วิธีการรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตกที่มีประสิทธิภาพและให้ผลลัพธ์ที่ดีมากที่สุด เนื่องจากกระดูกของมนุษย์ถือได้ว่าเป็นชิ้นส่วนที่มีความเฉพาะเจาะจงกับร่างกายของมนุษย์แต่ละคนเป็นอย่างมาก ส่งผลให้การเลือกใช้งานกระดูกชิ้นอื่น ๆ จึงไม่อาจทดแทนกระดูกชิ้นเดิมภายในร่างกายที่เสียหายไปได้อย่างพอดี จนอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรืออาจทำให้กระดูกหรือกล้ามเนื้อที่บริเวณโดยรอบกระดูกดังกล่าวไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร รวมไปถึงการเลือกใช้กระดูกจริงจากบริเวณอื่น ๆ ในการผ่าตัดรักษากระดูกที่เสียหายที่บริเวณใบหน้าไม่ว่าจะด้วยมะเร็ง เนื้องอก หรือการเกิดอุบัติเหตุที่นำไปสู่การเกิดภาวะกระดูกเบ้าตาแตก อาจยังไม่สามารถคืนความสวยงามของใบหน้าตามเดิมได้มากเท่าที่ควร

เพราะฉะนั้นแล้วเพื่อเป็นการช่วยรักษาความสวยงามของรูปหน้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของผู้ป่วยเอาไว้ รวมไปถึงเพื่อช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอันไม่พึงประสงค์ ที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัดรักษากระดูกเบ้าตาแตกด้วยการเลือกใช้กระดูกเชิงกรานมาทดแทน ส่งผลให้ในปัจจุบันนี้วงการแพทย์จึงได้มีการคิดค้น “วัสดุทดแทนกระดูก” หรือกระดูกเทียมไทเทเนียมขึ้นมา เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตกให้กับผู้ป่วยรวมถึงเพื่อเป็นการช่วยเพิ่มความปลอดภัยในระหว่างการผ่าตัดรักษา และการช่วยเพิ่มผลลัพธ์หลังจากการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โดยกระดูกเทียมไทเทเนียมจาก Meticuly เป็นกระดูกเทียมที่ถูกคิดค้นขึ้นมาโดยทีมแพทย์และทีมวิศวกรที่ได้มีการนำเอาเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) เข้ามาประยุกต์ใช้งานร่วมกับการตรวจวินิจฉัยและการวิเคราะห์ผล CT-scan ของผู้ป่วย เพื่อให้ทางทีมผู้ผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียมจาก Meticuly สามารถทำการจำลอง ปรับแต่ง และผลิตชิ้นงานแผ่นไทเทเนียมสำหรับทดแทนกระดูกใบหน้าและแผ่นรองเบ้าตาไทเทเนียมที่มีความเฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วยขึ้นมาด้วยการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติขั้นสูง เพื่อช่วยให้ทีมแพทย์สามารถทำการผลิตชิ้นส่วนกระดูกเทียมไทเทเนียมที่มีความเหมาะสมทั้งในด้านของขนาด รูปลักษณ์ พื้นผิว และเนื้อสัมผัส ขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทีมแพทย์สามารถลงมือผ่าตัดรักษาผู้ป่วยที่ประสบภาวะกระดูกเบ้าตาแตกได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว และเพื่อเป็นการช่วยให้ทีมแพทย์สามารถนำเอากระดูกเทียมไทเทเนียมมาใช้งานเพื่อการรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตกได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในภายหลัง รวมไปถึงเพื่อเป็นการช่วยลดระยะเวลาในการผ่าตัดและลดปริมาณของเลือดที่ผู้ป่วยจะต้องสูญเสียไปในระหว่างการผ่าตัดลง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวหลังจากการผ่าตัดได้อย่างเร็วและมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

Meticuly คือ บริษัทผู้ผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียมรายแรกของประเทศไทย ที่เป็นเจ้าของการออกแบบและกระบวนการผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO และ USFDA ซึ่งเป็นการช่วยสร้างความมั่นใจให้กับแพทย์และผู้ป่วยทุกท่านได้ว่า สิ่งที่ท่านได้รับเป็นกระดูกเทียมไทเทเนียมจากฝีมือคนไทยที่มีคุณภาพสูงสุดในระดับสากล และเป็นทางเลือกในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยอย่างแท้จริง

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ :
บริษัท เมติคูลี่ จำกัด
Email : [email protected]
Facebook : meticuly
LinkedIn : meticuly
Line : @meticuly
โทรศัพท์ : 02 334 0539

Share This

Copy Link to Clipboard

Copy